Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2551

การจัดสวน

บทที่ 1

ความสำคัญและประโยชน์ในการจัดสวน

1.1 ความหมายของการจัดสวน

สวน( Garden ) หมายถึง สถานที่ที่มีการ ปลูก ตกแต่ง จัด พันธุ์ไม้อย่างเป็นระเบียบเป็นสัดส่วน เพื่อความสวยงาม และใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น สวนผลไม้ ,สวนครัว ,สวนไม้ดอกไม้ประดับ ,สวนป่า สวนหย่อม

การจัดสวน หมายถึง การจัดสภาพหรือตกแต่งสถานที่ให้เหมาะสมสวยงาม ทำให้สภาพแวดล้อม บรรยากาศน่าอยู่ และเอื้อประโยชน์ต่อกิจกรรมต่าง ๆ หรือวิทยาศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์ โดยนำหลักวิชาการ ความรู้ เทคนิค ศิลปะและประสบการณ์มาผสมผสานเข้าด้วยกัน นำสิ่งของหลาย ๆ สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นสิ่งประดิษฐ์และสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติผสมผสานกัน เพื่อสร้างหรือพัฒนาให้เกิดประโยชน์ เกิดทัศนียภาพ ที่มีความงดงามสูงสุด อาจเป็นการสร้างธรรมชาติรูปแบบใหม่หรือลอกเลียนแบบธรรมชาติ ลอกเลียนศิลปกรรมในอดีตนำมาดัดแปลงให้เข้ากับความต้องการของมนุษย์

1.2 ความสำคัญและประโยชน์ในการจัดสวน

ตามประวัติศาสตร์การจัดสวนที่ผ่านมานั้นทำให้ทราบถึงความจำเป็นและความสำคัญของสวนที่มีต่อสภาพจิตใจและสภาพร่างกายของผู้ที่เป็นเจ้าของสถานที่ ดังนั้นการจัดสวนจึงมีประโยชน์หลายอย่างที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ จึงเป็นเหตุให้มีการจัดสวนขึ้น เพื่อบรรลุถึงจุดมุ่งหมายต่างๆดังนี้

1. จัดสวนขึ้นเพื่อจะกันเสียงรบกวนจากถนนหรือเพื่อนบ้าน มักจะใช้พุ่มหนาหรือไม้ยืนต้น เช่น อโศกอินเดีย , ชบา , เข็ม , ผกากรอง ฯลฯ

2. เพื่อกรองฝุ่นละอองที่กระจายทั่วๆไปในอากาศ โดยเลือกใช้พันธุ์ไม้ที่สามารถเก็บฝุ่นละอองได้มาก เช่น สนทะเล , สนประดิพัทธ์

3. จัดแต่งบางตำแหน่งของสวนเพื่อปิดบังสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมของบริเวณใกล้เคียง เช่น บริเวณใกล้บ้านที่มีกองขยะสวนและต้นไม้จะช่วยกรองเชื้อโรคและปิดบังสภาพไม่น่าดูได้

4. เพื่อให้เกิดความเป็นส่วนตัว ป้องกันการลอบมองจากเพื่อนบ้าน เช่น ภายในบ้านมีสระว่ายน้ำ หรือมีมุมสงบสวนตัว

5. เพื่อความสุขทางด้านจิตใจ เมื่อสภาพของสวนในบ้านมีสีเขียวสดใส มีร่มเงาของต้นไม้ มีบ่อน้ำ

ลำธารหรือน้ำตกจำลองและทำให้ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น

6. เพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น ปลูกสวนครัวหรือปลูกไม้ผล

7. เพื่อการออกกำลังกายโดยการวิ่งหรือเล่นเกมต่างๆฝึกการปลูกเลี้ยงและดูแลต้นไม้

8. เพื่อประกอบเป็นอาชีพ

บทที่ 2

การออกแบบจัดสวน

2.1 การออกแบบแปลนสวน

2.1.1 หลักศิลปะในการออกแบบสวน เช่น ความกลมกลืนกัน รูปแบบของสวน เวลา สัดส่วน การแบ่งพื้นที่จัดสวน เส้น รูปร่าง ผิวสัมผัส สี หลักจิตวิทยาในการออกแบบแปลนสวน
2.1.2 เครื่องมือ และการใช้เครื่องมือ สัญลักษณ์ ในการออกแบบแปลนสวน
2.1 เครื่องมือเขียนแบบ
2.2 หลักการเขียนแบบแปลนสวน
2.1.3 ขั้นตอนการออกแบบแปลนสวน

2.1.3.1 สำรวจสภาพพื้นที่
2.1.3.2 สัมภาษณ์ข้อมูลจากเจ้าของสวน
รูปที่ 1 แบบสวน
2.1.3.3 การเขียนแบบแปลนสวน รูปด้านบน - รูปด้านข้างหรือรูปทัศนียภาพ
2.1.3.4 องค์ประกอบต่างๆในการออกแบบแปลนสวน

ขั้นตอนการออกแบบตามที่กล่าวมาแล้วจะช่วยให้ผู้ออกแบบทํางานได้ถูกต้องจากข้อมูล ต่าง ๆ ที่ร่างไว้ เมื่อเริ่มเขียนแปลน ก็จะเริ่มจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

2.2 กําหนดทางเดิน

ให้สอดคล้องทั้งภายในและภายนอกตัวอาคาร สังเกตทางเข้าออก ตัวบ้าน จัดวางทางเดิน ให้ได้โดยรอบตัวบ้าน จากหน้าบ้านไปหลังบ้าน จากหลังบ้านมาหน้าบ้าน ทางเดินไปจุดต่าง ๆ จัดให้ไหลเวียนไปโดยไม่ติดขัด จากโรงรถ ก็ควรจะมี ทางเดิน ไปหลังบ้านได้โดยไม่ต้องผ่านภายในบ้าน ทางเดินแต่ละจุด อาจเชื่อมต่อกัน โดยไม่ทําให้สนามหญ้าเสียไป และ ไม่ควรทํา ทางเดิน ที่ไร้จุดหมาย วัสดุที่ใช้ทําทางเดินขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ของการใช้งาน และรูปแบบของการจัดสวนนั้น ๆ

2.3 วางตําแหน่งไม้ต้น

เมื่อกําหนดทางเดินภายในสวนแล้ว งานต่อไปคือวางตําแหน่ง ไม้ต้นเพราะไม้ต้นจะเป็นไม้ใหญ่มีระดับสูงสุด และเป็นไม้ที่ให้ร่มเงาในจุดต่าง ๆ ตําแหน่งที่ปลูกไม้ต้น ได้แก่ บริเวณรั้วรอบบ้าน จุดที่ต้องการร่มเงาใช้พักผ่อน ริมถนน ไปยัง ที่จอดรถ ด้านทิศตะวันตกของอาคาร ที่ใช้เป็นห้องพักฟ่อนรับแขก เหล่านี้ เป็นต้น
การจัดวางไม้ต้น ถ้าเป็น สวนแบบประดิษฐ์ มักจะปลูกเรียงแถวเป็นเส้นตรงตามแนวทางเดินที่กําหนดไว้ ถ้าเป็น สวนธรรมชาติ จะปลูกเป็นกลุ่ม 3-5 ต้น การปลูกไม้ต้นนี้อาจจะเป็นชนิดเดียวกัน หรือปลูกสลับกับไม้พุ่มก็ได้ การเลือกใช้พรรณไม้จะต้องระมัดระวัง เพราะ พรรณไม้ บางชนิดจะต้องการ การดูแลทําความสะอาดบริเวณนั้น ๆ ค่อนข้างมาก เนื่องจากการทิ้งใบของพรรณไม้ หรือในกรณีที่มีโรคแมลงรบกวนมาก ก็ควรจะหลีกเลี่ยงไม่นํามาใช้ และตําแหน่งการใช้งานก็ควรจะพิจารณาเลือกพรรณไม้ให้ถูกต้อง

2.4 กําหนดพื้นที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยและความงาม

เมื่อกําหนดทางเดิน และวางตําแหน่งต้นไม้แล้ว พื้นที่ส่วนที่เหลือจะต้องวิเคราะห์ดูว่า จุดไหน เหมาะสําหรับความต้องการอะไร โดยยืดหลักเรื่องประโยชน์ใช้สอยก่อน แล้วจึงตกแต่งให้เกิดความสวยงามตามมา เช่น บริเวณหลังบ้าน จะต้องใช้พื้นที่เป็น ส่วนบริการ ใช้ซักผ้า ตากผ้า เก็บของ เหล่านี้ เป็นต้น ลานซักล้าง จะต่อเนื่องจาก ห้องครัว บริเวณพื้นต้องเป็นซีเมนต์ เมื่อกําหนดส่วนใช้สอยแล้วจึงพิจารณาพรรณไม้ประดับตกแต่ง ปิดบังส่วนที่ไม่ต้องการให้บุคคลอื่นเห็น บริเวณใกล้ ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน วางตําแหน่งจัดสวนหย่อม อาจจะทํานํ้าตก นํ้าพุหรือสระนํ้า เลี้ยงปลา ปลูกบัว เพื่อให้มองเห็นได้จากภายในสู่ภายนอก การจัดสวนหย่อม ควรมีเพียง 1-2 จุดเท่านั้น หากมีมากเกินไปจะทําให้ความเด่นของสวน ลดน้อยลง ส่วนพื้นที่อื่น ๆ เช่น มุมพักผ่อน สนามเด็กเล่น แปลงไม้ดอก ควรจะ กําหนดลงไปพร้อมพรรณไม้และวัสดุอื่น ๆ

การวางพรรณไม้ลงในจุดต่าง ๆ จะต้องพิจารณาเรื่องแสงประกอบด้วยเพราะพรรณไม้ที่ใช้ต้องการแสงสว่างมากน้อยต่างกัน ในจุดที่มีแสง เช่น ริมทางเดิน ถนน ควรเลือกใช้ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม เช่น หูปลาช่อน เข็ม หรือจะเลือกใช้ไม้ดอก เช่น บานบุรี พวงทอง ช้องนาง ปลูกสลับกับ ไม้ต้น ก็ได้บริเวณมุมสนามระหว่างถนนกับระเบียง จุดนี้จะต้องมี การจัดวางพรรณไม้ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ลดความกระด้างของแนวถนน การจัดวางพรรณไม้อาจจะใช้ไม้ตระกูลปาล์มร่วมกับไม้คลุมดิน หรือไม้พุ่ม ก้อนหินร่วมกับ ไม้คลุมดิน ก็ได้ ในกรณีที่เจ้าของสถานที่ต้องการปลูกไม้ผลและทําสวนครัว ก็ควรจะกําหนดจุดนี้ไว้ บริเวณหลังบ้านที่ได้รับแสงแดดจัด มีไม้ผลบางชนิด เช่น สาเก ละมุดสีดา ซึ่งสามารถนํามาปลูกตกแต่งบริเวณบ้านได้

ในการออกแบบจัดสวน หากมีพื้นที่มากพอควรทําสนามหญ้าด้วย เพราะสนามหญ้าจะช่วยให้สวนนั้นสวยงามยิ่งขึ้น บริเวณพื้นที่ที่ทําสนามหญ้า ควรเป็นด้านหน้าซึ่งได้รับแสงแดดเต็มที่ รูปแบบของสนามหญ้าจะเป็นรูปใดขึ้นอยู่กับชนิดของสวนนั้น ๆ
การจัดสวนก็คล้ายกับการเขียนภาพสี ซึ่งภาพที่ออกมาจะสวยงามหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ รู้จักธรรมชาติของพรรณไม้ รวมถึงสีสัน ทรงต้น ตลอดจนการดูแลรักษาพรรณไม้เหล่านั้น การออกแบบสวนที่สวยงามจะต้องมีความเป็นระเบียบไม่ว่าจะเป็น สวนแบบประดิษฐ์ หรือ สวนแบบธรรมชาติ มีจุดเด่นไม่มากเกินไป มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันระหว่างจุดต่างๆ ตลอดจนให้ประโยชน์ใช้สอยในพื้นที่นั้น ๆ ได้ตามความต้องการการออกแบบแต่ละครั้ง ถ้าหากผู้ออกแบบได้ศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน ทราบปัญหาทุกอย่างในสถานที่นั้น ๆ แล้ว แบบที่ออกมาจะมีโอกาสใช้ได้เป็นที่น่าพอใจถึง 80 เปอร์เซ็นต์ การออกแบบที่ดีควรให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบน้อยที่สุด เมื่อนําไปใช้จัดสวนจริงๆ เพราะในขณะทํา การจัดสวน ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงแบบมากเกินไป ก็จะทําให้ ความเชื่อถือลดน้อยลง

ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการออกแบบสวน การออกแบบแต่ละครั้งแม้จะดีที่สุด แต่บ่อยครั้งพบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบบ้างบางส่วน ข้อผิดพลาดที่ทําให้ต้องเปลี่ยนแปลงแบบเกิดจากพรรณไม้ องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างในสวน รวมทั้งโครงสร้างของสวน

พรรณไม้ ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นเป็นเพราะไม่ได้ศึกษารายละเอียดของพรรณไม้นั้น ทําให้วางตําแหน่ง การปลูกผิดพลาด ทั้งตําแหน่งที่ปลูก ระยะปลูก บางครั้งจํานวน พรรณไม้ ที่ระบุไว้ในแบบมาก ทําให้ไม่สามารถ จะหาได้เพียงพอ เหล่านี้ เป็นต้น นอกจากนี้ การจัดกลุ่มพรรณไม้ เข้าด้วยกันจะต้องคํานึงถึง หลักของศิลปะ ที่จะต้อง พิจารณาความสมดุล ความกลมกลืน ลักษณะพื้นผิว รวมทั้งความสูงและการเจริญเติบโตของพรรณไม้แต่ละชนิดด้วย การจัดสวนเลียนแบบธรรมชาติ จะต้องจัดหาพรรณไม้ที่ให้บรรยากาศของป่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องใช้การสังเกต และอาศัยระยะเวลาใน การสะสมประสบการณ์ซึ่งจะช่วยให้ การออกแบบจัดสวน ในครั้งต่อ ๆ ไปดียิ่งขึ้น

องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างในสวน การจัดสวนนอกจากจะใช้พรรณไม้ต่าง ๆ แล้วยังมี องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย เช่น หิน ตอไม้ โอ่ง ไห รูปปั้น สระนํ้า นํ้าพุศาลาพัก ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะมีให้เลือกมากมายหลายชนิด ราคาก็แตกต่างกัน ผู้ออกแบบที่รู้จักวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้มาก รู้แหล่งใน การจัดซื้อก็สามารถจัดหา นํามาใช้ประกอบ การจัดสวน ได้มากขึ้น ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่ารู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ เพียงใด รู้ขนาด ความเหมาะสมใน การนํามาใช้ประกอบ การจัดสวน ตลอดจนรู้ราคาและความยากง่ายในการจัดซื้อ หากออกแบบไว้แล้วไม่สามารถจัดหาได้ แบบแปลนนั้นก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง

โครงสร้างของสวน การจัดสวนที่สวยงามนอกจากการออกแบบดี พรรณไม้และองค์ประกอบเหมาะสมแล้ว โครงสร้างพื้นฐาน ก็เป็นสิ่งสําคัญ เพราะโครงสร้างของสวนก็เปรียบเสมือนฐานรากของสวน การศึกษาเรื่องวิธี การปลูกพรรณไม้ ตลอดจน การดูแลรักษา เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับนักจัดสวน เพราะความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้จัดเตรียมโครงสร้างของสวนได้ถูกต้อง ทั้งในส่วนของการเตรียมดิน เตรียมหลุมปลูกที่เหมาะสม พรรณไม้ต่าง ๆ ที่จัดลงไปก็จะเจริญเติบโตได้ดี ปัญหาใน การดูแลรักษา จะน้อยลง

การจัดสวนแต่ละครั้งจะมีข้อผิดพลาดต่าง ๆ เกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็น ประสบการณ์ให้เกิด ความรู้ที่จะนําไป ดัดแปลง ใช้ในครั้งต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ผู้ออกแบบจัดสวน จะให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้มากหรือน้อย การจัดสวน เป็นทั้ง ศาสตร์และศิลปะ ซึ่งต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ร่วมกัน

2.5 ขั้นตอนการออกแบบสวน

การออกแบบ (design process) จัดสวนมีขั้นตอนของการออกแบบเพื่อให้ผู้ออกแบบได้เข้าใจถึงสถานที่และจุดประสงค์ของเจ้าของ การออกแบบ จะเป็นเรื่องไม่ยากสําหรับผู้ที่คุ้นเคย กับงานทางด้านการออกแบบ แต่สําหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้และ ไม่ค่อยได้จับดินสอ วาดรูปก็จะเป็นการยาก ซึ่งการปฏิบัติเพื่อออกแบบจะยากกว่า การเรียนรู้ในเรื่องทฤษฎีอย่างมาก ในการออกแบบครั้งแรกอาจจะยุ่งยาก ติดขัด แต่ในครั้งต่อ ๆ ไป ก็จะเริ่มง่ายขึ้นเป็นลําดับ
โดยทั่วไป หลักการในการออกแบบสวน มีขั้นตอนดังนี้

2.5.1 สํารวจสถานที่ (site analysis)

เป็นการสํารวจหาข้อมูลของสถานที่ให้มากที่สุด ผู้ออกแบบจะต้องศึกษาสภาพภูมิประเทศของสถานที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ควรทราบ คือ

2.5.1.1 สภาพภูมิอากาศ บริเวณนั้นมีอากาศร้อนหนาว แห้งแล้ง ชื้น มากน้อยเพียงใด ข้อมูลที่ได้จะทําให้สามารถเลือกใช้พรรณไม้ได้ถูกต้อง นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวส่วนไหนจะได้รับแสงสว่างมากน้อยอย่างไร ฝนตกชุกหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลในเรื่องการระบายนํ้าจากพื้นที่ ทิศทางลมเป็นอย่างไร ลมพัดแรงจนทําให้พรรณไม้เสียหายหรือไม่

2.5.1.2 บริเวณพื้นที่ สภาพดินเป็นอย่างไร เป็นกรด ด่าง ดินเหนียว ดินร่วน หรือดินปนทราย ลักษณะพื้นที่สูงตํ่ามากน้อย จะต้องถมดินตรงไหน ขนาดของพื้นที่กว้างยาวเท่าไร อยู่บริเวณไหนของบ้าน

2.5.1.3 ทิศ ทิศเหนืออยู่ทางไหน การรู้ทิศจะช่วยให้ทราบเรื่องแสงสว่างและทิศทางลม ซึ่งส่งผลในการกําหนดพรรณไม้และสิ่งอื่น ๆ

2.5.1.4 สิ่งก่อสร้าง ลักษณะอาคาร รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ในบริเวณนั้นเป็นลักษณะใด เพราะการออกแบบจัดสวนจะต้องให้กลมกลืน และเสริมให้อาคารสถานที่นั้นสวยงามเด่นสง่า รวมทั้งเกิดประโยชน์ใช้สอยอย่างเต็มที่

2.5.1.5 พรรณไม้เดิม มีมากน้อยอยู่ในตําแหน่งใด รวมทั้งชนิดของพรรณไม้นั้น ๆ ในการสํารวจสถานที่ ผู้ออกแบบอาจจะเขียนแปลนคร่าว ๆ โดยรวมว่าตัวอาคาร บ้านและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตั้งอยู่อย่างไรในบริเวณที่จะจัดสวน เพราะการจัดจะต้องมีความกลมกลืน
ระหว่างสวนกับบ้าน อาคารและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย ข้อมูลที่ได้จากการ สํารวจสถานที่จะนํามา หาความสัมพันธ์จากภายนอกสู่ภายใน และจากภายในอาคารสู่ภายนอก หาจุดเด่นในสวน ที่ภายในจะมองออกมาได้ชื่นชมความงามของสวน

2.5.2 สัมภาษณ์เจ้าของสถานที่ (client analysis)

เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับความชอบ รสนิยม รวมทั้งงานอดิเรกต่าง ๆ ของสมาชิกในครอบครัว หรือสถานที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ได้จะโดยการสอบถาม สังเกต รวมทั้งการพิจารณาจากสภาพทั่ว ๆ ไป เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสวน ชอบสวนแบบใด เป็นสวนธรรมชาติ สวนญี่ปุ่น หรือสวนนํ้า เป็นต้น

เวลาที่จะใช้ในการดูแลรักษาสวน มีมากน้อยเพียงใด เจ้าของบ้านชอบการทําสวนหรือไม่

สมาชิกในครอบครัวมีจํานวนเท่าใด เพศหญิง/ชาย เด็ก/ผู้ใหญ่ ต้องการทําที่เล่น สําหรับเด็กหรือไม่

สมาชิกในครอบครัวชอบเล่นกีฬา ทําสวน ทําอาหารนอกบ้านฯลฯ

ต้องการมุมสงบ เพื่อใช้พักผ่อนหรือไม่

แนวโน้มในอนาคตต้องการจะเปลี่ยนแปลงสถานที่เหล่านี้อย่างไร

รสนิยมเรื่องสี และวัสดุอื่น ๆ เป็นอย่างไร

ความชอบเรื่องพรรณไม้ ในเรื่องของดอก สีดอกเป็นอย่างไร

งบประมาณที่จะใช้จัดสวนประมาณเท่าใด ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์จะทําให้รู้ถึงความต้องการของเจ้าของ

2.5.3 วิเคราะห์ข้อมูล (data analysis)

จากการสํารวจสถานที่และสัมภาษณ์ข้อมูลต่าง ๆ จากเจ้าของแล้ว นําข้อมูลทั้งหมดมาแยกเป็นส่วน ๆ จัดเรียงลําดับความสําคัญจากมากไปหาน้อย ข้อมูลความต้องการของเจ้าของอาจจะมีมากกว่างบประมาณ หรือไม่สัมพันธ์กับ แบบของสวน ก็อาจจะต้องเลือกสิ่งที่จําเป็นก่อน สิ่งใดที่มี ความจําเป็นน้อย หรือใช้สิ่งอื่นที่จําเป็นกว่าทดแทนได้ก็ตัดทิ้งไป ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จะช่วยให้การจัดสวนตอบสนองความต้องการประโยชน์ใช้สอยของเจ้าของ แต่ในเรื่องความสวยงามจะเป็นหน้าที่ที่ ผู้ออกแบบ จะต้องเลือก ชนิดของพรรณไม้และองค์ประกอบอื่น ๆ ให้สัมพันธ์กันเช่น ในครอบครัว มีคนชราซึ่งต้องการที่พักผ่อนเดินเล่น ก็จะต้องจัดสวนให้มีทางเดินเท้าไปสู่จุดพักผ่อน มีสนามหญ้าให้ความสดชื่น หากมีเด็กเล็กก็ต้องการพื้นที่เล่นภายนอก ก็อาจจะต้องมีบ่อทราย ชิงช้า ไว้บริเวณ ใกล้บ้านและหากต้องการแปลงไม้ดอก แปลงพืชผักสวนครัว ก็จะต้องหาจุดที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ ในเรื่องงบประมาณหากวิเคราะห์ข้อมูลคร่าว ๆ แล้วจะเกินงบประมาณ ที่วางไว้ ก็อาจจะต้องหาสิ่งอื่นทดแทน ตามความเหมาะสม

2.5.4 ใช้วงกลมในการออกแบบ (balloon diagram)

เมื่อทําการวิเคราะห์ข้อมูลเรียงลําดับความสําคัญจากมากไปหาน้อยแล้ว เลือกเอาส่วนที่จําเป็นต้องมีภายในสวน ให้แต่ละส่วน เป็นวงกลม 1 วง นําเอาวงกลมเหล่านั้นวางลงในแปลน เพื่อหา ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ของวงกลม แต่ละวง ระหว่างวงกลมกับตัวบ้าน ดูความ เหมาะสมและประโยชน์ใช้สอยในแบบแปลนนั้น ๆ

2.5.5 เขียนแปลน (plan)

แปลน หมายถึง ลักษณะรูปร่างของสถานที่หรือสิ่งของนั้น ๆ โดยมองจากเบื้องบนลงมา (top view) แปลนสามารถบอก รายละเอียด เกี่ยวกับที่ตั้ง ทิศทางและขนาดของสิ่งต่าง ๆ ภายในแปลนทั้งหมด โดยทั่วไปแล้ว แปลนจะแบ่งออกได้หลายชนิด ตามความเหมาะสม คือ

2.5.5.1 ไซท์แปลน (site plan) อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมาสเตอร์แปลนเนื่องจาก มาสเตอร์แพลนมีขนาดใหญ่มาก ทําให้ขาดรายละเอียดต่าง ๆ ที่เล็กเกินกว่าจะเขียนลงในมาสเตอร์แปลน ดังนั้นการเขียนไซท์แปลน จะเป็น การขยายบางส่วนของมาสเตอร์แปลนนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นมาสเตอร์แปลนเองก็ได้ หากขนาดพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก

2.5.5.2 ดีเทลแปลน (detail paln) จะใช้ขยายบางส่วนจากไซท์แปลน เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น การเขียนแบบจะใช้มาตราส่วน 1:20, 1:50, 1:75 หรือ 1:100 และถ้าพื้นที่มีขนาดเล็กดีเทลแปลน ก็อาจจะเป็น มาสเตอร์แปลน ในพื้นที่นั้นเลยก็ได้ เช่น สนามเด็กเล็กในมุมหนึ่งของสวนสาธารณะ สวนบริเวณสามแยกเหล่านี้ เป็นต้น

2.5.5.3 สกีมาติคแปลน (schematic plan) เป็นแผนผังแสดงทิศทางการสัญจรและทาง เดิน หรือ ความสัมพันธ์ ระหว่าง จุดต่าง ๆ ในแปลน

2.5.5.4 คอนสตรัคชั่นแปลน (construction plan) แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องวัสดุต่าง ๆ ขนาดโครงสร้าง และ สิ่งอื่น ๆ ที่จําเป็น

2.5.5.5 แพล้นทิ่งแปลน (planting plan) เป็นแปลนที่แสดงรายละเอียดชนิดและตําแหน่งของพรรณไม้ รวมทั้ง ขนาดและจํานวนของพรรณไม้นั้น ๆ การเขียนแปลนเกี่ยวกับพรรณไม้ จะต้องทราบ ขนาดของทรงพุ่ม เมื่อโตเต็มที่ เพื่อจะได้วางระยะระหว่างต้นไม้ได้ถูกต้อง การใช้สัญลักษณ์แทนพรรณไม้ อาจเลือกใช้สัญลักษณ์ หนึ่งแบบ ต่อพรรณไม้หนึ่งชนิด หรือใช้สัญลักษณ์เดียวกันแต่ใช้ตัวเลขกํากับแทนชื่อพรรณไม้นั้น การใช้พรรณไม้หลาย ๆ ชนิด ควรใช้ตัวเลขบอกถึงชนิดของพรรณไม้โดยอธิบายชนิดของพรรณไม้ตามตัวเลขนั้น ๆ ข้างล่างแบบแปลน ซึ่งจะทําให้อ่านแบบได้ง่ายขึ้น การเขียนแบบแปลนที่ดี และสวยงาม ไม่สมควร มีอะไร ที่ยุ่งยาก มากเกินไป ตําแหน่งของสิ่งสําคัญต่าง ๆ ควรทําให้เด่นชัด โดยใช้หมึกที่มี เส้นหนัก และใช้หมึกเส้นเบา กับสิ่งทั่ว ๆ ไปส่วนของสนามหญ้าใช้เส้นเบาลงสีให้สวยงามเหมือนจริง เพื่อให้มองเห็นแล้ว สามารถคิดคล้อย ตามภาพนั้น ๆ ได้

2.5.5.6 เสตคจิ้งแปลน (staging plan) เป็นแปลนที่แสดงขั้นตอน ในการก่อสร้างของ มาสเตอร์แปลนโดยเรียงความสําคัญ หรือความจําเป็นจาก มากไปน้อยตามลําดับ เนื่องจากงบประมาณจะจ่ายเป็นงวด ๆ ของงานนั้น ๆ การเขียนแปลนจะช่วยให้ผู้ดูเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการออกแบบ รู้ถึงจุดต่าง ๆ ตลอดความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งในการเขียนแปลนนี้ หากจะทําให้ผู้ดูเข้าใจแจ่มชัดขึ้น ก็ควรจะเขียนทัศนียภาพ (perspective) ด้วย เพราะภาพ perspective จะมีลักษณะเหมือนภาพถ่าย ซึ่งภาพนี้อาจจะเขียนด้วย ลายเส้นขาวดํา หรือจะลงสีให้มีสีสํฯเหมือนจริงก็ได้

2.6 หลักการออกแบบสวน

ในการออกแบบจัดสวน หากมีพื้นที่มากพอควรทําสนามหญ้าด้วย เพราะสนามหญ้าจะช่วยให้สวนนั้นสวยงามยิ่งขึ้น บริเวณพื้นที่ที่ทําสนามหญ้า ควรเป็นด้านหน้าซึ่งได้รับแสงแดดเต็มที่ รูปแบบของสนามหญ้า จะเป็นรูปใด ขึ้นอยู่กับ ชนิดของสวน นั้น ๆ การจัดสวนก็คล้ายกับการเขียนภาพสี ซึ่งภาพที่ออกมาจะ สวยงามหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ รู้จักธรรมชาติของพรรณไม้ รวมถึงสีสัน ทรงต้น ตลอดจน การดูแลรักษา พรรณไม้ เหล่านั้น การออกแบบสวน ที่สวยงาม จะต้องมีความเป็นระเบียบไม่ว่าจะเป็นสวนแบบ ประดิษฐ์ หรือ สวนแบบธรรมชาติ มีจุดเด่นไม่มากเกินไป มีการเชื่อมโยง สัมพันธ์กันระหว่างจุดต่างๆ ตลอดจนให้ประโยชน์ใช้สอย ในพื้นที่นั้น ๆ ได้ตาม ความต้องการ การออกแบบ แต่ละครั้ง ถ้าหาก ผู้ออกแบบ ได้ศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน ทราบปัญหาทุกอย่างในสถานที่นั้น ๆ แล้ว แบบที่ออก มาจะมี โอกาส ใช้ได้เป็นที่น่าพอใจถึง 80 เปอร์เซ็นต์ การออกแบบที่ดีควรให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบน้อยที่สุด เมื่อนําไปใช้ จัดสวน จริงๆเพราะ ในขณะทํา การจัดสวน ถ้าหากมี การเปลี่ยนแปลงแบบ มากเกินไป ก็จะทําให้ ความเชื่อถือลดน้อยลง ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการออกแบบสวน การออกแบบแต่ละครั้งแม้จะดีที่สุด แต่บ่อยครั้งพบว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงแบบ บ้างบางส่วนข้อผิดพลาดที่ทําให้ต้องเปลี่ยนแปลงแบบเกิดจากพรรณไม้ องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างในสวน รวมทั้งโครงสร้างของสวน

2.6.1 พรรณไม้

ข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นเป็นเพราะไม่ได้ศึกษารายละเอียดของพรรณไม้นั้น ทําให้วางตําแหน่งการปลูกผิดพลาด ทั้งตําแหน่งที่ปลูก ระยะปลูก บางครั้งจํานวนพรรณไม้ที่ระบุไว้ในแบบมากทําให้ไม่สามารถจะหาได้เพียงพอ เหล่านี้ เป็นต้น นอกจากนี้การจัดกลุ่มพรรณไม้เข้าด้วยกันจะต้องคํานึงถึงหลักของศิลปะที่จะต้องพิจารณาความ สมดุล ความกลมกลืน ลักษณะพื้นผิว รวมทั้งความสูงและการเจริญเติบโตของพรรณไม้แต่ละชนิดด้วย การจัดสวนเลียนแบบธรรมชาติ จะต้องจัดหา พรรณไม้ที่ให้บรรยากาศของป่า สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องใช้ การสังเกต และ อาศัยระยะเวลา ในการสะสม ประสบการณ์ ซึ่งจะช่วยให้ การออกแบบจัดสวน ในครั้งต่อ ๆ ไปดียิ่งขึ้น

2.6.2 องค์ประกอบและสิ่งก่อสร้างในสวน

การจัดสวนที่สวยงามนอกจากการออกแบบดี พรรณไม้และองค์ประกอบเหมาะสมแล้ว โครงสร้างพื้นฐาน ก็เป็นสิ่งสําคัญ เพราะโครงสร้างของสวนก็เปรียบเสมือน ฐานรากของสวน การศึกษาเรื่อง วิธีการปลูกพรรณไม้ ตลอดจน การดูแลรักษาเป็นสิ่งจํา เป็นสําหรับ นักจัดสวน เพราะความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ จัดเตรียม โครงสร้างของสวน ได้ถูกต้อง ทั้งในส่วนของ การเตรียมดิน เตรียมหลุมปลูก ที่เหมาะสม พรรณไม้ต่าง ๆ ที่จัดลงไป ก็จะเจริญเติบโต ได้ดี ปัญหาใน การดูแลรักษาจะน้อยลง การจัดสวนแต่ละครั้ง จะมีข้อผิดพลาดต่าง ๆ เกิดขึ้นมาก บ้าง น้อยบ้าง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นประสบการณ์ให้เกิดความรู้ที่จะนําไปดัดแปลงใช้ในครั้งต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ผู้ออกแบบจัดสวน จะให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนี้ มากหรือน้อย การจัดสวนเป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ ซึ่งต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ร่วมกัน

2.7 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การออกแบบจัดสวน

การแบ่งพื้นที่ในสวนแต่ละประเภท จะแตกต่างกันไป สวนสาธารณะ ก็แตกต่าง แต่ สวนบ้าน ค่อนข้างจะใกล้ชิดกับ ประชาชน หรือคน หรือสมาชิกครอบครัวมากที่สุด การแบ่งพื้นที่ของ สวนบ้าน แบ่งได้เป็น 2 หลักใหญ่ ๆ โดยอาศัยลักษณะของ วัฒนธรรม ของต่างชาติ เป็น ต้นแบบ เช่น การแบ่งพื้นที่ของ การจัดสวน ของชาวตะวันตก หรือ อเมริกา ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป บ้านของ ชาวตะวันตก และ อเมริกา นั้นไม่ค่อยมี รั้วบ้าน อาจจะมีรั้วเป็นรั้วเตี้ย ๆ อย่างนี้เป็นต้น การแบ่งพื้นที่ การจัดสวน ของชาวตะวันตก จึงแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลักใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

2.7.1. พื้นที่ส่วนหน้า หรือ ส่วนสาธารณะ จะเป็นส่วนโชว์ การจัดสวน ส่วนนี้ควรจะเป็นสนามเปิด เป็นส่วนใหญ่ ต้นไม้ไม่มาก จะเสริมให้ บ้าน ดูสง่ามีคุณค่ามากขึ้น เป็นส่วนของพื้นที่ที่ติดถนน

2.7.2. พื้นที่บริการหรือการปฏิบัติงานส่วนนี้คล้าย ๆ กับครัว พื้นที่ซักล้างภายในบ้าน จะประกอบไปด้วยส่วนที่เก็บ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่ใช้อำนวยความสะดวก ไม่ว่าจะเป็น ราวตากผ้า ถังขยะ หรือบางครั้งก็อาจจะดัดแปลงเป็น ส่วนพื้นที่ปลูก พืชผักสวนครัว ที่ใช้ ภายในบ้านก็ได้ เพราะฉะนั้นส่วนนี้ของพื้นที่จัดอยู่ใกล้ ๆ กับพื้นที่บริการ เช่น ห้องครัว ห้องซักล้าง ให้ได้เกิดความเชื่อมโยง ซึ่งกันและกัน

2.7.3. พื้นที่พักผ่อนส่วนตัว โดยทั่ว ๆ ไป สมาชิกครอบครัว ต้องการความสงบ ความสวยงาม พื้นที่ของสวนส่วนนี้ เปรียบเสมือนกับ ห้องพักอาศัย ห้องนอน ห้องรับแขก การจัดก็ควรให้อยู่ในสภาพใกล้ เคียงกับ ห้องนอน ห้องรับแขก หรืออื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว ชาวตะวันตกจะใช้พื้นที่ของสวน ส่วนนี้อยู่หลังบ้าน เป็นพื้นที่เชื่อมโยงกับลานพัก จะมีการจัดอย่างพิถีพิถัน มีสิ่งอำนวยความสะดวก ครบครัน การจัดมีความเป็นพิเศษ หลายบรรยากาศ สนองตอบต่อ ความสุขของครอบครัว หรือผู้ที่อยู่อาศัยมากที่สุด

การแบ่งพื้นที่อีกแบบหนึ่งก็คือ เป็นของชาวตะวันออก เมื่อปลูกบ้านแล้วมักจะมีรั้วบ้านรั้วโปร่งก็มี รั้วทึบก็มี รั้วค่อนข้างจะสูง การแบ่งพื้นที่จะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

1. ส่วนหน้า เป็นส่วนที่ติดถนน การจัดจะเน้นใน เรื่องความเหมาะสม จัดขนาดของพื้นที่ ไม่มีวัตถุประสงค์ของการใช้เป็นที่พักผ่อน

2. สวนครัว อันนี้เจาะลงสวนครัวโดยตรง ให้ทำหน้าที่รวบรวม เกี่ยวกับเรื่องพืชผักต่าง ๆ กิจกรรมเกี่ยวกับการดำรงชีวิต ของคนเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่สวนส่วนนี้อยู่ระหว่าง สวนหน้ากับสวนใน และในส่วนของสวนครัว อาจจะเป็นที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อีก เช่น ราวตากฟ้า อุปกรณ์สำหรับงานสวน ระบบน้ำ ระบบไฟ

3. ส่วนใน เป็นพื้นที่ด้านหลังบ้าน เปรียบเสมือนเป็นบ้าน หรือส่วนที่พักผ่อนจริง ๆ เพื่อให้ผู้อยู่ อาศัยได้ใช้ชีวิตสัมผัสกับ ธรรมชาติ การจัดแบบนี้จึงอุดมไปด้วยไม้ใหญ่ ไม้ดอกนานาชนิด แล้วในสวน ส่วนใน ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ส่วนแรกคือ
ตอนหน้าสุด การจัดจะโปร่งบาง ถัดไปเป็น ตอนกลางอาจจะเป็นลักษณะของลำธารน้ำไหล หรือน้ำตกเตี้ย ๆ คลุมแมกไม้ที่มีการปักควบคุมทรง ส่วนด้านหลังนั้นจะเป็นเนินขา โขดหินแล้วก็ป่าไม้ใหญ่ เพราะฉะนั้น ลักษณะของการแบ่งพื้นที่ของการจัดสวนแบ่งตามลักษณะ ตามประเพณีนิยม ของชาวตะวันตกและตะวันออก

2.8 การกำหนดรูปร่างหรือแบบ (Style)

ในการจัดสวนในส่วนของบริเวณ ที่เลือกแล้วนั้นขึ้นอยู่กับ รสนิยม และความชอบของเจ้าของบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

2.8.1 แบบรูปทรงเรขาคณิต (Formal)

คือ การจัดโดยอาศัย รูปทรงเรขาคณิต ต่าง ๆ มีการแสดงออกของ เส้นตรง ซึ่งเป็น เส้นนำสายตา ให้มุ่งตรงไปยัง จุดเด่นที่ต้องการ (Strong Axial Design) และเส้นนี้ จะแสดงความรู้สึกว่า บริเวณ ด้านซ้าย และขวามีความเท่า ๆ กัน (Balance) คือ ด้านซ้ายและด้านขวา เหมือนกันทุกประการ การจัดสวน แบบนี้ เหมาะกับ บ้านทรงยุโรป ประเภท-กรีก โรมัน และบริเวณมุมเล็ก ๆ ในพื้นที่จำกัด หรือใน บริเวณส่วน ด้านหน้าของ หน่วยงานราชการ และบริษัทต่าง ๆ การจัดสวนประเภทนี้ จะดูเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่การดูแลรักษาค่อนข้างสูง เพราะต้องตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นรูปทรงเรขาคณิตอยู่เรื่อย ๆ

2.8.2 แบบธรรมชาติ (Informal)

คือ การจัดใช้เส้นอิสระ (Free Form) มักเป็นโค้งรูปตัว "S" ดูเป็นธรรมชาติ อ่อนช้อยไม่เป็น เหลี่ยมมุม ต้นไม้ใช้รูปทรงตาม ธรรมชาติ ไม่ตัดแต่งเป็นรูปทรงเรขาคณิต การจัดสวนแบบธรรมชาติ นี้เหมาะกับ บ้านทั่ว ๆ ไป ทั้งที่มีเนื้อที่กว้าง และ เนื้อที่แคบ หรือ สวนสาธารณะ และสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ

2.9 องค์ประกอบของศิลป์

เป็นองค์ประกอบที่ถูกกำหนดขึ้นโดยธรรมชาติ เป็นองค์ประกอบมูลฐานของความงาม ในการออกแบบจัดสวน จำเป็นต้องเข้าใจคุณค่า และมูลฐานที่สำคัญของความงาม สามารถนำไปใช้ให้เกิดความกลมกลืน องค์ประกอบของศิลป์ ประกอบด้วยจุด (point) เส้น (line) สี (colour) รูปร่างรูปทรง (shape and form) ลักษณะผิว (texture) ลวดลาย (pattern) และช่องว่าง (space or voloume)

2.9.1 จุด (point)

จุดเป็นสิ่งแรกสุดของการเห็น โดยความรู้สึกของเราแล้ว จุดไม่มีความกว้าง ความยาว และความลึก เป็นสิ่งที่เล็กที่สุดไม่สามารถแบ่งแยกออกได้อีก ดังนั้นจุดจึงหยุดนิ่ง ไม่มีการเคลื่อนไหว (static) ไม่มีทิศทางและเป็นศูนย์รวม (centrlized) จุดเป็นองค์ประกอบเริ่มแรกของรูปทรง จุดจึงเป็นตัวกำหนด

-ปลายทั้งสองข้างของเส้น

- จุดตัดของเส้นสองเส้น

- วางบรรจบกันของเส้นที่มุมของแผ่นระนาบ หรือก้อนปริมาตร

ในธรรมชาติเราจะเห็นจุดกระจายซ้ำ ๆ อยู่ทั่วไปในที่ว่าง เช่น จุดที่สุกใสของกลุ่มดาวในท้องฟ้า ลายจุดในตัวสัตว์และพืชบางชนิด เมื่อเราอยู่ในที่สูง ๆ แล้วมองลงมายังกลุ่มคน จะเห็นเป็นจุดกระจายเคลื่อนไหวไปมา หรือรวมกลุ่มกัน ตัวจุดเองนั้น เกือบจะไม่มี ความสำคัญอะไรเลย เนื่องจาไม่มีรูปร่าง ไม่มีมิติ แต่เมื่อจุดนี้ ปรากฏตัวในที่ว่าง ก็จะทำให้ที่ว่างนั้น มีความหมายขึ้นมา ทันที เช่น ถ้าในที่ว่างนั้นมีจุดเพียงจุดเดียว ที่ว่างกับจุดจะมีปฏิกริยาผลักดันโต้ตอบซึ่งกันและกัน จุดที่อยู่กึ่งกลางบริเวณจะมั่นคง (stable) สงบ ไม่เคลื่อนที่ และเป็นสิ่งสำคัญโดดเด่น แต่เมื่อจุดถูกย้ายออกจากกึ่งกลาง บริเวณรอบๆ จะดูแกร่งขึ้น และเริ่มแย่งกัน เป็นจุดเด่น ของสายตา แรงดึงสายตาจะเกิดขึ้นระหว่างจุดกับบริเวณรอบ ๆ
ส่วนจุดที่รวมกันหนาแน่น เป็นกลุ่ม เส้นรูปนอก หรือเส้นโครงสร้างของกลุ่มจะปรากฏให้เห็นในจินตนาการ และจุดที่ซ้ำ ๆ กันในจังหวะต่าง ๆ จะให้แบบรูป (pattern) ของจังหวะที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไม่จำกัด

2.9.2 เส้น (line) เส้นเป็นพื้นฐานของโครงสร้างของทุกสิ่งในจักรวาล เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการออกแบบ สิ่งต่าง ๆ ล้วนเกิดจากเส้นประกอบเข้าด้วยกัน ความหมายของคำว่าเส้นคือ
- เส้นเกิดจากจุดที่ต่อกันในทางยาว
- เส้นเป็นขอบเขตของที่ว่าง ขอบเขตของสิ่งของ ขอบเขตของรูปทรง ขอบเขตของน้ำหนักและขอบเขตของสี
- เส้นเป็นขอบเขตของกลุม สิ่งของ หรือรูปทรงที่รวมกันอยู่ เป็นเส้นโครงสร้างที่เห็นได้ด้วยจินตนาการ
คุณลักษณะของเส้น เส้นมีมิติเดียว คือความยาว เส้นขั้นต้นที่เป็นพื้นฐานมี 2 ลักษณะ คือเส้นตรง กับเส้นโค้ง เส้นทุกชนิด สามารถ แยกออกเป็น เส้นตรงกับเส้นโค้งได้ทั้งสิ้น เส้นลักษณะอื่น ๆ ซึ่งเราเรียกว่า เส้นขั้นที่ 2 เกิดจากการประกอบกัน เข้าของเส้นตรง และ/หรือเส้นโค้ง เช่น เส้นฟันปลา เกิดจากเส้นตรงมาประกอบกัน และเส้นโค้ง ที่ประกอบกันหลาย ๆ เส้น ก็จะได้เส้นลูกคลื่น หรือ เส้นเกล็ดปลา เป็นต้น นอกจากนี้เส้นยังมีทิศทางของเส้น ได้แก่ แนวราบ แนวดิ่ง แนวเฉียงเป็นต้น ส่วนขนาดของเส้น เส้นไม่มีความกว้าง จะมีแต่เส้นบาง เส้นหนา เส้นเล็ก เส้นใหญ่ ความหนาของเส้นจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับความยาว หากเส้นสั้น และมีความหนามาก ก็จะหมดคุณลักษณะของความเป็นเส้นกลายเป็นรูปร่าง (shape) สี่เหลี่ยมผืนผ้า

ความรู้สึกที่เกิดจากลักษณะของเส้น

2.9.2.1 เส้นตรง ให้ความรู้สึกแข็งแรง แน่นอน ตรง เข้ม ไม่ประนีประนอม และเอาชนะ
2.9.2.2. เส้นโค้งน้อย หรือเส้นเป็นคลื่นน้อย ๆ ให้ความรู้สึกสบาย เปลี่ยนแปลงได้ เลื่อนไหลต่อเนื่อง มีความกลมกลืนในการเปลี่ยนทิศทาง ความเคลื่อนไหวช้า ๆ สุภาพ นุ่ม อิ่มเอิบ แต่ถ้าใช้เส้นลักษณะนี้มากเกินไป จะให้ความรู้สึกกังวล เรื่อยเฉื่อย ขาดจุดหมาย
2.9.2.3. เส้นโค้งวงแคบ เปลี่ยนทิศทางรวดเร็ว มีพลังเคลื่อนไหรุนแรง
2.9.2.4. เส้นโค้งของวงกลม การเปลี่ยนทิศทางที่ตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ให้ความรู้สึกเป็นเรื่องซ้ำ ๆ เป็นเส้นโค้งที่มีระเบียบมากที่สุด แต่จืดชืดไม่น่าสนใจ เพราะขาดความเปลี่ยนแปลง
2.9.2.5 เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวคลี่คลาย เติบโตเมื่อมองจากภายในออกมาและถ้ามองจากภายนอกเข้าไปจะให้ความรู้สึกที่ไม่สิ้นสุดของพลังเคลื่อนไหว
2.9.2.6. เส้นฟันปลาหรือเส้นคดที่หักเหโดยกะทันหัน เปลี่ยนทิศทางรวดเร็วมาก ทำให้ประสาทกระตุก ให้จังหวะกระแทก รู้สึกถึงกิจกรรมที่ขัดแย้งและความรุนแรง

2.9.3 ความหมายของเส้น

ความรู้สึกที่เกิดจากทิศทางของเส้น

เส้นทุกเส้นมีทิศทาง คือ ทางตั้ง ทางนอน และทางเฉียง ในแต่ละทิศทางจะให้ความรู้สึกต่างกัน

2.9.3.1 เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง พุ่งขึ้น จริงจัง เงียบขรึม และให้ความสมดุล เป็นสัญลักษณ์ของความถูกต้อง ซื่อสัตย์ มีความสมบูรณ์ในตัว สง่า ทะเยอทะยาน และรุ่งเรือง
2.9.3.2 เส้นนอน ให้ความรู้สึกพักผ่อน ผ่อนคลา เงียบ เฉย สงบ
2.9.3.3 เส้นเฉียง เป็นเส้นที่อยู่ระหว่างเส้นตั้งกับเส้นนอน ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ไม่มั่นคง ไม่สมบูรณ์ ต้องการเส้นเฉียงอีกเส้นหนึ่งมาช่วยให้มั่นคงสมดุลในรูปของมุมฉาก
2.9.3.4 เส้นที่เฉียงและโค้ง ให้ความรู้สึกที่ขาดระเบียบตามยถากรรม ให้ความรู้สึกพุ่งเข้าหรือพุ่งออกจากที่ว่าง

2.9.4 รูปร่างและรูปทรง (shape and form)
2.9.4.1 รูปร่าง (shape) เกิดจากการนำเส้นตรง และเส้นโค้งมาประกอบเข้าด้วยกันจนเป็นรูป รูปร่างประกอบด้วยด้าน 2 ด้าน คือ ด้านกว้างและด้านยาว เรียกว่ารูป 2 มิติ รูปร่างมีเฉพาะพื้นผิวหน้าของรูปเท่านั้น ไม่มีส่วนลึกส่วนหนา รูปร่างมีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น
- รูปร่างตามธรรมชาติ (organic shape) เป็นรูปร่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
- รูปร่างเรขาคณิต (geometric shape) เป็นรูปร่างที่ประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง เช่น รูปครึ่งวงกลม รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม เป็นต้น
- รูปร่างอิสระ (free shape) เป็นรูปร่างต่ง ๆ ที่นอกเหนือจากรูปร่างตามธรรมชาติและรูปร่างเรขาคณิต
จากวิชาเรขาคณิตรูปที่เรียบง่ายที่สุดคือ รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
รูปวงกลม คือ จุดเป็นจำนวนมากเรียงตัวโดยมีระยะห่างเท่า ๆ กันรอบจุดหนึ่ง วงกลมเป็นรูปที่รวมเป็นจุดศูนย์กลาง (centralized) และเป็นรูปที่จบในตัวเอง เมื่อวางวงกลมให้อยู่ในศูนย์กลางบริเวณจะยิ่งเน้นให้เกิดความรู้สึกมุ่งสู่ศูนย์กลาง และเมื่อประกอบวงกลมกับรูปทรงตรง หรือเป็นเหลี่ยม หรือใส่องค์ประกอบอื่นตามแนวรอบวง จะทำให้เกิดความรู้สึกถึงการหมุน
รูปสามเหลี่ยม เป็นตัวแทนความเสถียร (stability) และจะเสถียรอย่างยิ่งเมื่อตั้งบนด้านใดด้านหนึ่ง หากตั้งบนจุดยอดจะเป็นได้ทั้งสถานะสมดุลอย่างล่อแหลม หรือสถานะไม่เสถียร ซึ่งมักจะให้ความรู้สึกล้มคว่ำไปด้านใดด้านหนึ่ง
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นรูปที่บอกถึงความบริสุทธิ์มีเหตุผล เป็นรูปที่หยุดนิ่ง (static) และเป็นกลางจะไม่แสดงทิศทางด้านใดด้านหนึ่อย่างชัดเจน ส่วนรูปสี่เหลี่ยมอื่น ๆ อาจถือได้ว่าเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงไปจากสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยการเพิ่มส่วนสูง ส่วนกว้าง และเช่นเดียวกับสามเหลี่ยม เมื่อตั้งบนด้านใดด้านหนึ่งจะรู้สึกเสถียรและจะมีพลังเคลื่อนไหว (dynamic) เมื่อตั้งบนมุมใดมุมหนึ่ง
2.9.4.2 รูปทรง (form) หมายถึงโครงสร้างของสิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วยด้าน 3 ด้าน คือด้านกว้าง ด้านยาว และด้านหนา เป็นรูป 3 มิติ รูปทรงสามารถวัดขนาดและปริมาตรได้ รูปทรงมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น
- รูปทรงธรรมชาติ (organic form) ได้แก่รูปทรงที่เหมือนวัตถุจริงในธรรมชาติ
- รูปทรงเรขาคณิต (geometric form) ได้แก่รูปทรงกลม รูปทรงวงรี รูปทรงสามเหลี่ยม หรือรูปทรงเหลี่ยมอื่น ๆ เป็นต้น
- รูปทรงอิสระ (free form) ได้แก่รูปทรงอื่น ๆ ที่ไม่เข้าข่ายรูปทรงธรรมชาติและรูปทรงเรขาคณิต ในงานตกแต่งนิยมใช้รูปทรงทั้งสามชนิดในอัตราที่พอเหมาะ แต่ถ้าใช้รูปทรงเหล่านี้มากเกินไปจะขาดจุดเด่น มองดูซับซ้อนยุ่งเหยิง

2.9.5 ความรู้สึกต่อรูปทรงต่าง ๆ
รูปทรงกลม (sphere) เป็นรูปทรงที่เป็นศูนย์กลางของตนเอง มองดูเสถียร เมื่อวางบนพื้นลาดเอียงจะเกิดการเคลื่อนที่แบบหมุน
รูปทรงกระบอก (cylinder) มีแกนเป็นศูนย์กลางถ้าตั้งบนผิวหน้าวงจะรู้สึกเสถียร และจะไม่เสถียรเมื่อแกนกลางเอียงไป
รูปทรงกรวย (cone) เมื่อตั้งบนฐานวงกลมจะเสถียรมาก หากแกนดิ่งเอียงหรือล้มจะไม่เสถียรแต่ถ้าตั้งบนจุดยอดจะมีสถานะสมดุลได้
รูปทรงปิระมิด (pyramid) มีคุณสมบัติคล้ายรูปทรงกรวย โดยที่รูปทรงกรวยจะมีลักษณะนุ่มนวล (soft) แต่รูปทรงปิระมิดมีลักษณะที่กระด้าง (hard) และเป็นเหลี่ยมมุม
รูปทรงลูกบาศก์ (cube) เป็นรูปทรงที่มีสี่เหลี่ยมจัตุรัสเท่ากันหกหน้า มีขอบยาวเท่ากัน 12 ขอบ รูปทรงลูกบาศก์เป็นรูปทรงที่เสถียร ไร้ทิศทางและการเคลื่อนไหว

2.9.6 ลักษณะผิว (texture)

ลักษณะผิว หมายถึง ลักษณะของบริเวณพื้นผิวของสิ่งต่าง ๆ เมื่อสัมผัสจับต้องหรือมองเห็นแล้วรู้สึกได้ว่าหยาบ ละเอียด เป็นมัน ด้าน ขรุขระ เป็นเส้น เป็นจุด เป็นกำมะหยี่ เป็นต้น ลักษณะผิวของวัสดุที่ใช้ในงานศิลป์ีความสำคัญต่อความงามในด้านสุนทรียภาพ ลักษณะผิวจะมีความหมายทั้งในด้านการสัมผัสโดยตรงและจากการมองเห็น ทำให้เกิดความสุขทั้งทางกายและทางใจ ลักษณะผิวของงานศิลป์ อาจจะเป็นลักษณะผิวตามธรรมชาติ สามารถจับต้องได้ เช่น ลักษณะผิวของกระดาษทราย ผิวส้ม หรือลักษณะผิวที่ทำเทียมขึ้น ซึ่งเมื่อมองดูจะรู้สึกว่าหยาบหรือละเอียด แต่เมื่อสัมผัสจับต้องกลับกลายเป็นพื้นผิวเรียบ ๆ เช่น วัสดุสังเคราะห์ที่ทำลักษณะพื้นผิวเป็นลายไม้ ลายหิน เป็นต้น
ความรู้สึกต่อลักษณะผิว ลักษณะผิวที่เรียบและขรุขระจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ลักษณะผิวที่เรียบจะให้ความรู้สึกลื่น คล่องตัว รวดเร็ว ส่วนลักษณะผิวที่ขรุขระ หยาบ หรือเน้นเส้นสูงต่ำ จะให้ความรู้สึกมั่นคง แข็งแรง

2.9.7 ลวดลาย (pattern)

ลวดลายในแต่ละสิ่งล้วนแตกต่างกันมากมาย มีทั้งลวดลายที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ลายไม้ หรือลายที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น เช่น ลวดลายบนผ้าบนกระดาษ หรือลวดลายในการปรุงแต่งจัดลักษณะพื้นผิวให้เกิดความสวยงามบนทางเท้า เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งการสร้างลวดลายจะสร้างนผิวพื้นให้เป็นรูปต่าง ๆ ตามความนิยม โดยที่การจัดลวดลายนี้ ถ้าหากวัสดุนั้นมีลวดลายน้อยเกินไปก็จะดูไม่น่าสนใจ แต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะดูยุ่งเหยิง วุ่นวาย

2.9.8 สี (colour)
สีเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ สีมีอยู่ในแสงแดดเป็นคลื่นแสงชนิดหนึ่ง จะปรากฏให้เห็นเมื่อแสงแดดผ่านละอองไอน้ำในอากาศ เกิดการหักเหเป็นสีรุ้งบนท้องฟ้า 7 สี คือ แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน (คราม) และม่วง หรือให้แสงแดดส่องผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม (prism) ก็จะแยกสีออกมาให้เห็นเป็นสีรุ้งเช่นกัน
สีเป็นองค์ประกอบหนึ่งของงานศิลป์ที่มีความหมายมาก เพราะสีช่วยให้เกิดคุณค่าในองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น การใช้สีให้เกิดรูปร่าง การใช้สีให้เกิดจังหวะ หรือการใช้สีแสดงลักษณะของพื้นผิว นอกจากนี้การใช้สียังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความคิด ความรู้สึกและอารมณ์ สีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สีที่เป็นแสง (spectrum) เป็นสีที่เกิดจากการหักเหของแสง
2. สีที่เป็นวัตถุ (pigment) เป็นสีที่มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป เช่น ในพืช ในสัตว์ เป็นต้น

สีที่เป็นวัตถุ (pigment) แบ่งออกเป็น

1. แม่สี หรือสีขั้นต้น (primary colours) มี 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีน้ำเงิน แม่สีทั้ง 3 สี เป็นสีที่ไม่สามารถผสมขึ้นมาได้ แต่สามารถผสมเข้าด้วยกันเป็นสีอื่น ๆ ได้
2. สีขั้นที่สอง (secondary colours) มี 3 สี เกิดจากการนำแม่สีทั้ง 3 มาผสมกันเข้าทีละคู่ก็จะได้สีออกมาดังนี้
สีเหลือง + สีแดง > สีส้ม
สีเหลือง + สีน้ำเงิน > สีเขียว
สีแดง + สีน้ำเงิน > สีม่วง
3. สีขั้นที่สาม (tertiary colours) เป็นสีที่ได้จากการนำสีขั้นที่ 2 ผสมกับแม่สีทีละคู่ ก็จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6 สี คือ ส้มเหลือง ส้มแดง เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน
4. สีกลาง (neutral colour) เป็นสีที่เกิดจากการนำเอาสีทุกสีผสมรวมกันเข้า หรือเอาแม่สีทั้ง 3 สี รวมกัน ก็จะได้สีกลาง ซึ่งเป็นสีเทาแก่ ๆ เกือบดำ

วงล้อสี (colour wheel)

จากสี 12 สี ในวงล้อจะแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ
- วรรณะสีอุ่น (warm tone) ได้แก่ สีเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง และม่วง (ครึ่งหนึ่ง)
- วรรณะสีเย็น (cool tone) ได้แก่สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงินน้ำเงิน ม่วงน้ำเงินและม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง)
สำหรับสีเหลืองและสีม่วงนั้น เป็นสีที่อยู่ในวรรณะกลาง ๆ หากอยู่ในกลุ่มสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มสีเย็นก็จะเย็นด้วย

คู่สี (complementary colours)

สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสีจะเป็นคู่สีกัน ถ้านำมาวางเรียงกันจะให้ความสดใส ให้พลังความจัดของสีซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างมาก คู่สีนี้จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง (true contrast) การใช้สีที่ตัดกันจะต้องพิจารณาดังนี้
- ปริมาณของสีที่เกิดจากการตัดกันจะต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในภาพ
- การใช้สีตัดกันต้องมีสีใดสีหนึ่ง 80% และอีกสีหนึ่ง 20% โดยประมาณ
- ถ้าหากต้องใช้สีคู่ตัดกัน โดยมีเนื้อที่เท่า ๆ กัน จะต้องลดความเข้มของสี (intensity) ของสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสีลง

สีข้างเคียง (analogous colours

เป็นสีที่อยู่เคียงกันในวงล้อสี เช่น สีเหลืองกับส้มเหลือง สีทั้ง 2 จะดูกลมกลืนกัน สีที่อยู่ห่างกันออกไป ความกลกลืนก็จะค่อย ๆ ลดลง ความขัดแย้ง หรือความตัดกันก็จะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นคู่สี หรือสีตัดกันอย่างแท้จริงเมื่อห่างกันจนถึงจุดตรงข้ามกัน

การใช้สีมีอยู่ 2 วิธี คือ การใช้สีให้กลมกลืน (harmony) หรือตัดกัน(contrast) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการใช้งาน แต่ละลักษณะ การใช้สีให้ดูกลมกลืนมากเกินไปก็จะจืดชืด น่าเบื่อ แต่ถ้าใช้สีตัดกันมากเกินไปก็จะเกิดการขัดแย้งสับสนได้

จิตวิทยาของสี (colour phychology) คือการที่สีมีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์

- สีแดง สีแห่งการโฆษณาชวนเชื่อ ตื่นเต้น เร้าใจ
- สีแดงอ่อน ความประณีต ความเยือกเย็น ความหวาน ความสุข
- สีแดงเข้ม มีอุดมคติสูง ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์
- สีชมพู สีแห่งความเป็นหนุ่มสาว สีแห่งความรัก ความมั่นใจ
- สีน้ำเงิน สีแห่งความเชื่อมั่น หนักแน่น สุภาพ ถ่อมตน
- สีฟ้าอ่อน สีที่าบรื่น ร่มเย็น
- สีเหลือง สว่างสดใส ร่าเริง รู้สึกมีรสเปรี้ยว
- สีแสด ตื่นตัวเร้าใจ สนุกสนาน
- สีม่วง สีแห่งความผิดหวัง ไม่เชื่อมั่น ไม่แน่นอน เศร้า
- สีเขียวอ่อน สดชื่น ร่าเริง เบิกบาน
- สีเขียวแก่ เศร้า ชรา เบื่อหน่าย
- สีดำ ทุกข์ เสียใจ
- สีน้ำตาล อับทึบ
- สีเทา เงียบสงัด ขรึม สุภาพ

2.9.9 ช่องว่าง หรือช่วงระยะ (space)

ช่องว่าง หรือช่วงระยะ มีความหมายดังนี้
- ปริมาตรที่รูปทรงกินเนื้อที่อยู่
- อากาศที่โอบรอบรูปทรง
- ระยะห่างระหว่างรูปทรง (ช่องไฟ)
ดังนั้นคำว่าช่องว่างนี้ หมายถึง ที่ที่ทำให้เกิดรูปร่างและที่ที่เรามองไม่เห็นว่าเป็นรูปร่าง ในการเขียนภาพใดภาพหนึ่ง ภาพที่เขียนก็คือ ช่องว่างและบริเวณรอบ ๆ ของภาพก็คือช่องว่างเช่นกัน ช่อว่างประเภทแรกเป็นช่องว่างที่ตัวของวัตถุเอง เรียกช่องว่างนี้ว่า positive space ส่วนช่องว่างรอบ ๆ ตัววัตถุเรียกว่า negative space ในการเขียนตัวหนังสือ space ก็คือช่องไฟ ช่องว่างทั้ง positive space and negative space นี้จะต้องสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี ช่องว่างหรือช่วงระยะนี้จะทำให้เกิดความรู้สึกหลาย ๆ อย่าง เช่น ความใกล้ ความไกล ความต่อเนื่อง หรือความขาดตอนกัน

2.10 หลักศิลปในการออกแบบ Principle of design

หลักศิลปในการออกแบบ (Principle of design )

2.10.1. ความกลมกลืนกัน (Unity)
2.10.2. รูปแบบของสวย (Styles)
2.10.3. เวลา (Time)
2.10.4. สัดส่วน (Scale)
2.10.5. การแบ่งพื้นที่จัดสวน (Space Division)
2.10.6. เส้น (Line)
2.10.7. รูปร่าง (Form)
2.10.8. ผิวสัมผัส (Texture)
2.10.9. สี (Color)
2.10.10. หลักจิตวิทยาในการออกแบบ (Psychology of Design)

นอกเหนือจากความรู้เรื่องโครงสร้างของบ้าน บุคคล และปัญหาค่าง ๆ แล้ว การออกแบบจัดสวน ก็มิอาจจะสมบูรณ์ได้ ถ้าปราศจาก รอบรู้ทางด้านศิลป์ ซึ่งนับเป็นหัวใจ และเป็นรากฐานสำคัญในการออกแบบเบื้องต้นไปจนถึงการออกแบบที่ยุ่งยากต่อไป ซึ่งความรู้ทางด้านศิลปนี้ผู้ใช้จำต้องทราบ และเก็บส่วนละเอียดปลีกย่อยทั้งหมดเอาไว้ เมื่อถึงจังหวะและเวลา ที่เหมาะสม ก็ต้องนำ เอาความรู้เหล่านี้ ออกมาใช้ได้ทันทีจนบางครั้งผู้ใช้ก็แทบจะไม่รู้สึกตัวว่าได้ใช้ความรุ้ทางศิลปออกไป หรืออีกนัยหนึ่งก็นับว่า เป็นการฝึกรสนิยมของตนเอง ให้มีพื้นฐาน ความงามของด้านศิลปเพียงพอ ที่จะนำไปใช้ได้ทุกกรณีไม่ว่าจะเป็น การจัดสวน การตกแต่งภายในบ้านการเลือกเสื้อผ้าเลือกข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีกฎตายตัวว่า ของดีมีรสนิยม จำเป็นจะต้อง แพงเสมอไป เพราะฉะนั้นศิลปจะช่วยดัดแปลง ให้ของทุกอย่างแลดู มีคุณค่าน่าใช้ยิ่งขึ้น
ศิลป์ เกี่ยวกับ การจัดสวน มีพื้นฐานคล้ายคลึงกับศิลป์ กับด้านอื่น ๆ เช่น ด้านจิตรกรรม ประติมากรรม มีเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่แตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมสิ่งแรก ที่ควรพิจารณาก็คือ

2.10.1. ความกลมกลืนกัน (Unity)

ลักษณะความกลมกลืนกันภายในสวนขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ของสวน , อาคารสถานที่และต้นไม้ที่ใช้ปลูก
ลักษณะของพื้นที่ของสวนได้แก่ รูปแบบของพื้นที่ทั่วไปในสวน เช่น เป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมรูปแบบต่าง ๆ นับเป็นสิ่งสำคัญใน การกำหนดลักษณะ ของสวนได้ ส่วนอาคารสถานที่ก็มีรูปแบบต่างกันออกไป เช่น อาคารในยุคสมัยก่อน , ใหม่ ฯลฯ
ต้นไม้ที่ใช้ปลูกก็เลือกให้ถูกชนิดตามความเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่และตัวอาคาร
สวนในสมัยเก่าจะเห็นว่ามีลักษณะที่เรียบง่าย เนื่องจากวัสดุมีจำนวนจำกัด และมีจุดมุ่งหมายไป
ในทางเดียวกัน เช่น ปลูกเพื่อเป็นอาหาร , ปลูกเพื่อทำให้สภาพพื้นที่ร่มรื่นขึ้น เนื่องจากเป็นทะเลทราย แต่ในปัจจุบันเจ้าของบ้านมีความต้องการและจุดมุ่งหมายมากกว่าเดิม จำต้องเลือกวัสดุที่มีอยู่มากให้เข้ากันได้หรือกลมกลืนกันกับลักษณะของสวน รวมทั้งเข้ากับพรรณไม้ต่าง ๆ ด้วย
ดังนั้นควรจะได้รู้จักวัสดุต่าง ๆ อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้ใหม่ ๆ หรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อหาความกลมกลืนกันให้ได้ภายในสวน ยกตัวอย่างเช่น เราจะจัดสวนเป็นแบบตื่นเต้น ก็ควรเลือกชนิดอาคารให้มีลักษณะสมัยใหม่ ใช้วัสดุที่แปลกตาให้ความรู้สึกแก่ผู้ดูในทางตื่นเต้น หรืออาจจะเป็นไปในทางลึกลับสวยงามก็ได้ พรรณไม้ใหม่มีดอก สีสันสดสวย หรือรูปร่างที่แปลกประหลาด นอกจากนี้รูปร่างของลักษณะพื้นที่ก็ควรจัดให้ผู้ดูเกิดความคล้อยตาม เช่น จัดเป็นรูปร่างทางเดินที่ล่อผู้ดูให้ไปยังจุดที่เราต้องการ จะโชว์ภายในสว หรือเป็นทางเดินเล่นสบาย ๆ มีที่นั่งพักเป็นระยะ ๆ

2.10.2 รูปแบบของสวน (Styles)

เดิมทีเดียวการจัดสวนมีอยู่ 2 แบบ คือ

ก. แบบ Formal Style คือ การจัดสวนที่อยู่อาศัยรูปทรงเรขาคณิตเป็นหลัก เช่น จัดรูปร่างของพื้นที่ต้นไม้ เป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกระบอกและอื่น ๆ รวมทั้งนิยมจัดให้มีความสมดุลย์กันทั้งด้านซ้ายและขวา ซึ่งต้องเหมือนกันและเท่ากันทุกอย่าง
ข. แบบ Informal Style คือการจัดสวนที่ไม่อาศัยรูปทรงเรขาคณิตเป็นหลัก แต่อาศัยหลักสมดุลย์ในการจัดวาง หรือจังหวะให้พอดีกันโดยไม่จำเป็นต้องมี 2 ข้างเท่ากันได้ นิยมใช้ เส้นโค้งมากกว่าเส้นตรง สามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม หรือแม้แต่รูปทรงของต้นไม้ก็ปล่อยให้เป็นรูปทรงอิสระ ไม่ตัดแต่งจนเสียรูปทรงตามธรรมชาติแต่อย่างใด
ค. ต่อมาเนื่องจากอิทธิพลของรูปเขียนสมัยใหม่ทำให้มีการจัดสวนแบบ Abstract Style ขึ้น คือ จัดไม้เป็นกลุ่มใหญ่เน้นเรื่อง การใช้สีระหว่างต้นไม้ นิยมใช้ไม้พุ่มมากกว่า การจัดสวน แบบนี้ได้ยอมรับเป็นแบบหนึ่งใน การจัดสวน และเป็นที่นิยมทั่วไปในยุโรปในช่วง 10 – 20 ปีหลังนี้

2.10.3 เวลา (Time)

ระยะเวลาเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้การออกแบบจัดสวน แตกต่างกับศิลปด้านอื่น ๆ เพราะงานศิลปทางด้านจิตรกรรมหรือปฏิมากรรม เมื่อทำตามรูปแบบที่วางไว้แล้วก็เป็นอันว่าเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปโชว์หรือประดับที่ใดได้ทันที แต่ศิลปทางด้านการจัดสวนอาจใช้เวลานับสิบปีเพื่อการตัดแต่ง หรือรอคอยให้ต้นไม้มีรูปร่างที่สมบูรณ์แบบตามที่ผู้ออกแบบได้คิดภาพไว้
ดังนั้นงานด้านจัดสวนไม่ใช่เฉพาะช่างฝีมือก็ทำได้ทุกคน มีเฉพาะบางคนที่เป็นศิลปินพอสมควร คือ สามารถมีจินตนาการถึงภาพและตำแหน่งของต้นไม้ต่าง ๆ ภายในสวนที่สมบูรณ์งดงามแล้วได้ และมีความสามารถในเรื่องธรรมชาติของต้นไม้ในอันที่จะเลือกชนิดของต้นไม้และปลูกตามวิธีการที่ถูกต้อง และมีความอดทนเพียงพอที่จะรอชมผลที่งดงามดังที่ได้ตั้งภาพพจน์ไว้ แม้จะเป็นระยะเวลาอันยาวนานก็ตามที

2.10.4 สัดส่วน (Scale)

การจัดสัดส่วนในการจัดสวนให้ได้จังหวะที่ดีและสวยงามนั้นมีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่างเพื่อให้เกิดสัดส่วนที่ดีและน่าสนใจดังนี้
สัดส่วนในการจัดสวนเปรียบเหมือนกับการจัดตกแต่งภายในบ้าน โดยถือว่าสวนเป็นห้อง 1 ห้องทุกครั้งที่จัดโดยมีองค์ประกอบดังนี้
- เพดานของห้อง หรือแปลนบน (Overhead Plane) ได้แก่ท้องฟ้า , เรือนยอดของต้นไม้ , หลังคา, ชายคา , เรือนระแนง
- ผนังของห้องหรือแปลนตั้ง (Vertical space divider) ได้แก่ ผนัง , รั้ว , ต้นไม้ , พุ่มไม้
- พื้นห้อง หรือแปลน (Base Plane) ได้แก่ ทราย , น้ำ , ดิน
การจัดสวนให้ได้ลักษณะที่ดี และน่าประทับใจจะขาดองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้ไม่ได้เพราะจะทำให้ความรู้สึกสมดุล และเหมาะสมหายไป ยกตัวอย่าง เช่น
เราจัดที่นั่งเล่นภายในสวน โดยมีเก้าอี้นั่งเล่นวางอยู่บนสนามหญ้าที่กว้างใหญ่ทำให้ดูเวิ้งว้าง อึดอัดหาจุดหมายปลายทางไม่ได้ อากาศร้อน เนื่องจากไม่มีเรือนยอดของต้นไม้ เป็นแปลนบนไม่มีไม้พุ่มอยู่ใกล้ ๆ เป็นขอบเขตเพื่อแสดงถึงส่วนตั้ง จึงมีแต่แปลนพื้นเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้สวนก็มีส่วนต่อเนื่องกับสัดส่วนของมนุษย์ด้วย ผู้ออกแบบต้องพยายามเปรียบเทียบถึงลักษณะของสวนด้วย ว่าเป็นสวนสำหรับเด็ก , ผู้ใหญ่ ,วัชรา ฯลฯ ในสมัยก่อนนั้นพยายามสร้างสวนกว้างใหญ่มองเห็นได้ง่าย เป็นระเบียบ ไม่มีลักษณะที่สงสัย
ชาวฝรั่งเศสได้สร้างสวนของตนเองกว้างใหญ่โดยเปรียบเทียบเป็นโลกของเขาที่สร้างขึ้นตามใจปรารถนา ส่วนความต้องการของคนปัจจุบัน ต้องการให้สวนเป็นสถานที่ส่วนตัวเล็ก ๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่และมีลักษณะที่เป็นไปตามแบบที่งดงามของธรรมชาติ

2.10.5 การแบ่งพื้นที่ที่จัดสวน ( Space division)

รูปแบบของการจัดสวนมีผลเนื่องมาจากกการแบ่งสัดส่วนกันระหว่างที่โล่ง กับที่ทึบ ซึ่งแล้วแต่ว่าจะจัดให้มีสิ่งใดมากน้อยกว่ากัน ซึ่งเป็นข้อเตือนใจที่ดีสำหรับนักจัดสวนว่าสมควรจัดให้มีทั้งที่โล่งและที่ทึบประกอบกันไปอย่าให้มีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
สิ่งที่โล่ง หมายถึง น้ำ, ดิน , หญ้าสิ่งที่ทึบ หมายถึง ภูเขา, ต้นไม้ , อาคารสถานที่
การัดสวนแต่ละแห่งมีการแบ่งเส้นระหว่างที่โล่งและที่ทึบต่างกัน เช่น ชาวฝรั่งเศสชอบให้ระเบียงต่อจากห้อง (ที่โล่ง) และแบ่งระเบียงเป็นแต่ละส่วน ๆ เท่า ๆ กันโดยมีการปิดกั้นด้วยผนังของต้นไม้ (ที่ทึบ) เพื่อเป็นขอบ

2.10.6 เส้น (Line)
เส้นเป็นตัวทำให้เกิดความหมายต่าง ๆ กันออกไป ในการจัดสวนแต่ละครั้งจำต้องมีการใช้เส้นหลายชนิด เพื่อนำมาประกอบเข้าให้ได้ดังจุดมุ่งหมายของผู้ออกแบบ ซึ่งแต่ละจุดมุ่งหมายที่ใช้เส้นต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วเส้นให้ความรู้สึกดังนี้
เส้นที่ไปตามแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบ พักผ่อน
เส้นในแนวตั้ง 90องศา ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว เพราะคนต้องมองขึ้น

เส้นทะแยงมุม ,เส้นขวางหรือซิกแซก ทำให้เกิดความรู้สึกว่องไวและมีชีวิตจิตใจ

เส้นโค้ง และเนินเขา ไม่เคลื่อนไหวเร็ว เท่าซิกแซก ช้าและนุ่มนวลกว่า
แต่ถ้าเส้นโค้ง ที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และกระทันหัน จะทำให้เกิดการกระตุ้น หรือความรู้สึก ที่มีชีวิตจิตใจ

2.10.7 รูปร่าง (Form)
เส้นให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อเรานำเอาเส้นมาประกอบเข้ากันจะได้เป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น รูปร่างของทางเดินในสวน รูปร่างของสนามหญ้า เป็นต้น ส่วนความกลมกลืนกันแต่ละรูปต่างต่างนั้น ผู้ออกแบบต้องเป็นผู้ใช้ความสามารถจัดวางให้ทุกส่วนภายในสวนมีความสัมพันธ์กันเองโดยอาจจะคิดถึงเรื่องสัดส่วน , หรือ การแบ่งพื้นที่หรือสี เป็นต้น
โดยปกติแล้ว รูปร่างของคนสวนก็คงจะเป็นแบบรูปทรงเรขาคณิต และแบบธรรมชาติเท่านั้น
เท่าที่กล่าวไปแล้วเป็นรูปร่าง ทางด้านแปลนซึ่งใช้เส้นประกอบขึ้น นอกจากนี้ยังมีรูปร่างทางแนวอื่น ๆ อีก เช่น แนวตั้ง คือ รูปทรงศาลา , รูปทรงของต้นไม้ ฯลฯ

2.10.8 ผิวสัมผัส (Texture)
สิ่งสำคัญของผิวสัมผัส คือ ช่วยทำให้รูปแบบต่าง ๆ แลดูเด่นขึ้น ผิวสัมผัสก็แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ ผิวสัมผัสที่หยาบ และละเอียด
พื้นผิวที่หยาบ จะทำให้เกิดความรู้สึกกล้าแข็ง , บังคับ (เหมือนกับเส้นตรง) และให้ความรู้สึกเยิ่นเย้อโบราณพื้นผิวที่ละเอียดจะให้ความรู้สึกร่าเริงและยุ่งนิด ๆ เพราะผิวที่ละเอียดจะแลดูลึกลับกว่าผิดหยาบสวนของชาติต่าง ๆ ก็มีการใช้ผิวสัมผัส แตกต่างกันออกไปตามโอกาส เช่น
: สวนชาวญี่ปุ่น มีผิวสัมผัสตัดกันระหว่าง หิน , ต้นไม้ รูปร่างของทราย และน้ำ
: สวนของชาวเสปญ มีผิวสัมผัสต่างกันระหว่าง เหล็กดัด , ผนัง ,พื้น และต้นไม้อย่างชัดเจน
: สวนของชาวอังกฤษ มีผิวสัมผัสที่กลมกลืนกัน แบ่งแยกได้ยากระหว่าง ผิวสัมผัสของหญ้า ไม้ผลัดตัวอาคาร แม้แต่รูปปั้นก็อยู่ในเงาหมอกที่มองเห็นไม่ค่อยชัด : สวนสมัยโบราณของ California ใช้หินเรียบ ๆ เป็นก้อนเพื่อเป็นพื้น ผนังปลูกต้นไม้เป็นกลุ่มใหญ่
: สวนสมัยใหม่ของ California ใช้ผนังหินหยาบ ๆ ไม้ กระจก และคอนกรีต

2.10.9 สี (Color)
สีช่วยให้ความสว่างไสวแก่สวน และให้ความหมายแตกต่างกันมากมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้สี ไม่ว่าจะเป็นสีของต้นไม้ ดอกไม้ ทางเดิน ผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรืออื่น ๆ ก็ตามที ควรเรียนรู้และทราบถึงทฤษฎีพอสมควร จะช่วยให้เราสามารถจัดกลุ่มสีของสวนได้กลมกลืนและสวยมากขึ้น
การจัดสวนถ้าต้องการให้กลมกลืนใน เรื่องสีควรเลือก กลุ่มสี ก่อนว่า จะเอากลุ่ม สีร้อน หรือ สีเย็น ถ้าเลือก สีเย็น ก็ควรเลือก สีน้ำเงิน ,เขียว , ครามสีอุ่น สีส้ม , เหลือง สีร้อน ส้ม , แดง ,ม่วง
ในบางกรณีที่บางจุดมี สีกลมกลืน มากไป เราต้องการเน้นให้เด่นสดใส ก็ใช้สีตัดกันได้ เช่น แดงกับเขียว , ส้มกับน้ำเงิน (ดูสีตรงข้ามในวงกลม)
ปัญหา เรื่องสี จะทำให้ คุณค่าของความสวยงาม น้อยลง เช่น เจ้าของบ้านเลือกต้นไม้แต่ละชนิดได้สวย แต่เมื่อนำมาจัดเข้าประกอบกัน ลืมคิดเรื่องความกลมกลืนของสีไป จึงทำให้ความเด่นของสวนลดลง ยกตัวอย่างเช่น สวนไม้ดอกมีสีสันมากมาย โดยเอาสีหลายสีอยู่ใกล้กัน จึงทำให้หาจุดเด่นไม่ได้โดยมีสีแดง เหลือง เขียว ม่วง ส้ม กระจายอยู่ทั่วไป ทำให้ลานตาไปหมด ถ้าเจ้าของบ้านใจเย็นค่อย ๆ คิดถึงเรื่องของสีบ้าง จัดเอาไม้ที่มีสีเขียวแก่เอาไว้ใกล้เขียวอ่อน ตามด้วยสีสดใสอาจเป็นแดง และต่อไปไปขาวหรือชมพู ความกลมกลืนของสีก็จะทยอยกันไปเรื่อย ๆ ทำให้แลดูสบายตา และสวยงามดี เมื่อถึงบางจุดที่เราเบื่อก็อาจจะเอาสีที่สะดุดตามาก ๆ มาใส่ในจุดเน้นเป็นจุดเด่นไปก็ได้ แต่อย่าให้มากจุดเกินไป

2.10.10 หลักจิตวิทยาในการออกแบบ (Psychology of design )
การที่เราทราบถึงความต้องการหรือทราบถึงจิตใจส่วนใหญ่ของมนุษย์จะทำให้เราออกแบบได้โดดเด่นและดีขึ้น

บทที่ 3

การจัดสวน Gardening

3.1 การจัดสวน
เมื่อจะเริ่มจัดสวน สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ทำการสำรวจพื้นที่ที่คุณมี ว่าพื้นที่ของเรามีรูปทรงแบบไหน เป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือรูปทรงอิสระ แล้วทำการร่างภาพของพื้นที่ลงบนกระดาษ โดยใช้สัดส่วนคร่าวๆ และอาจจะถ่ายภาพ มุมกว้างของทั่วทั้ง บริเวณเก็บไว้ประกอบการใช้งานด้วย หาจุดเด่นและจุดด้อยเมื่อได้ภาพร่างคร่าว ๆ แล้ว ให้หาจุดเด่นของสวนที่คุณจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับวางโต๊ะและเก้าอี้นั่งเล่น โดยอาจพิจารณาจาก มุมที่เป็นส่วนตัว,มุมที่สามารถมองเห็นวิวที่สวยที่สุดในบ้าน ฯลฯ ซึ่งถ้ามุมที่มีร่มไม้ใหญ่ช่วยบดบังความร้อนได้จะยิ่งดี เพราะเมื่อจัดสวนเสร็จคุณจะสามารถใช้งาน ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลารอให้ต้นไม้โต และถ้ามุมไหน ที่มองดูแล้ว ไม่ช่วยเสริมส่งให้ สวนสวย อาจจะเป็นซุ้มไม้เก่า หรือต้นไม้ที่โตเกินขนาดแล้วดูไม่สวย ถ้าไม่รื้อออกไปเลย ก็ควรจะทำ การซ่อมแซม หรือตัดแต่งให้เข้ารูปเข้าทรง ก่อนจะเพิ่มเติมอะไรลงไปในสวน

3.2 ขั้นตอนการจัดสวน

หลังจากได้ออกแบบสวน ประเมินราคา และตกลงกับเจ้าของสถานที่เรียบร้อยแล้ว นักจัดสวนต้องวางแผนและเตรียมงานเป็นขั้นต่อไป เพื่อกะระยะให้สวนเสร็จตามวัน และ เวลาที่ต้องการจากการจัดสวนโดยทั่วไปจะพบว่า มีลำดับการทำงานเป็นขั้น ๆ เพื่อความสะดวกในการทำงานและมีผลให้งานแต่ละส่วนได้ผลดี ทั้งง่ายต่อการเบิกเงินแต่ละงวดของเจ้าของบ้าน เมื่อการจัดสวนได้ถึงขั้นตอนที่กำหนดไว้

3.3 การเลือกวัสดุ
เมื่อกำหนดจุดต่างๆได้แล้ว ควรตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุอะไรบ้างในแต่ละส่วน แล้วจึงค่อยไปเลือกซื้อ หาตาม ความต้องการ จะช่วยให้จัดสวนได้ง่ายขึ้น อาจจะลองเปิดดูตามหนังสือเกี่ยวกับการจัดสวน ว่ามีวัสดุอะไร ที่เราสามารถ เลือกมาใช้ได้บ้าง หรือปรึกษาตามร้านขายอุปกรณ์เหล่านี้ ที่สำคัญ สิ่งของที่คุณจะใช้ในสวน ต้องคำนึงถึงความทนทาน ทนแดด และฝนด้วย จะได้ไม่ต้องซื้อหากันบ่อยๆ ให้เปลืองสตางค์

3.4 การเลือกซื้อพรรณไม้

การเลือกซื้อพรรณไม้ (Getting plant) เป็นการสำรวจและหาแหล่งพรรณไม้ที่มีในแบบตามแหล่งต่าง ๆ ของร้านขายพรรณไม้ภายในเมืองนั้น โดยพยายามหาทั้งชนิดของต้นไม้, ขนาด, รูปทรง และราคาให้เป็นไปตามแบบที่เสนอต่อเจ้าของบ้านทั้งนี้เพื่อเกิดความศรัทธาจากเจ้าของบ้านถึงความสามารถของผู้จัดที่หาพันธุ์ไม้ได้ทรงและจิดตามที่กำหนดไว้ ควรพยายามหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนต้นไม้จากแบบเดิมนอกจากจำเป็นจริง ๆ เช่น ในกรณีที่ไม่สามารถจะหาไม้ชนิดนั้นได้หรือมีแต่ไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการ ก็ควรเป็นอย่างอื่นแทน แต่นักจัดสวนควรจะอธิบายเหตุผลให้เจ้าของบ้านเข้าใจถึงปัญหา และทราบถึงสิ่งนำมาทดแทนว่าเป็นชนิดใดและราคาใกล้เคียงกันหรือดีกว่าอย่างไรบ้าง เมื่อได้เลือกพรรณไม้ตามที่ต้องการแล้วควรจะฝากไว้ที่ร้านค้านั้นก่อนจนกว่าจะปรับที่เตรียมหลุม พร้อมที่จะปลูกได้จึงต้องขนย้ายในวันเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดเวลา น้ำมัน โดยการขนจากหลาย ๆ ร้านรวมกันวันนี้ อีกทั้งจะได้ไม่เป็นภาระในการรดน้ำต้นไม้ ถ้านำเอาต้นไม้ไปไว้บ้านที่จัดสวนนานเกินไป

3.5 การปรับที่

การปรับที่ (Grading) การปรับที่ก่อนจะมีการปลูกต้นไม้นั้นเป็นงานที่ยากใช้เวลาและแรงงานมาก ปัญหามีมากถ้าหากว่าการก่อสร้างบ้านไม่เสร็จเรียบร้อยเพราะอาจมีการขุดท่อวางสายไฟ ประปา อีก็ได้ และหลังจากที่ปรับที่เสร็จเมื่อฝนตกฝนก็จะชะหน้าดินเป็นร่องทำให้เสียเวลาในการปรับที่ใหม่ เนินที่แต่งไว้อาจจะถูกเหยียบย่ำโดยคนงานที่มาทำงานอื่นในบ้าน เช่น ทาสี, ตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ ดังนั้นการปรับที่จึงต้องรอเวลาที่เหมาะสม โดยให้งานก่อสร้างส่วนใหญ่เสร็จแล้ว จะใช้ผู้ที่มีฝีมือที่จะปรับที่ให้เป็นรูปร่างตามที่นักออกแบบได้

การปรับที่อาจเริ่มจากการปรับหน้าดินให้เรียบตามระดับที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้จอบย่อยดินให้ละเอียด และนำดินมาถมตามจุดที่ต่ำไปหรือถากดินออกบริเวณที่หน้าดินสูงเกินไป ช่วงใดที่ต้องการให้เป็นเนินก็เอาปูนขาวโรย แสดงขอบเขตของเนินนั้น ๆ (ดูจากแปลน) และทยอยเอาดินมาถมในบริเวณปูนขาวให้สูงตามที่ต้องการ โดยไล่จากจุดต่ำสุดมายังจุดสูงสุดของเนิน เมื่อถมที่ได้ตามที่ต้องการแล้วควรรดน้ำและย่ำให้ดินแน่นไม่เป็นโพรง ทั้งนี้เพื่อกันการทรุดตัวของเนินในภายหลัง หลังจากการใส่ดินตามจุดที่ต้องการแล้วควรรดน้ำให้ชุ่มมาก ๆ แล้วทิ้งไว้ 1 คืน ให้ดินหมวดจึงใช้ลูกกลิ้งบดดินให้เรียบ ถ้าช่วงไหนที่ดินยุบมากควรเพิ่มดินอีก

การปรับดินควรปรับถึงการระบายน้ำด้วยโดยทั่วไปไล่ระดับของดินให้สูงไปหาต่ำตรงบริเวณที่เป็นท่อระบายน้ำ เพราะไม่ให้น้ำขังเมื่อฝนตก ทุกจุดของการจัดสวนต้องคิดถึงเรื่องการระบายน้ำ โดยเฉพาะสวนช่วยที่อยู่ใกล้ชายคาที่น้ำไหลลงมาเมื่อฝนตก ควรระวังเลือกใช้พรรณไม้และปรับทางระบายน้ำบริเวณนั้นให้ดี

ส่วนของสนามที่ระดับดินเท่ากันแต่งให้เรียบเสมอขอบธรรมดา และถ้าในดินมีสนามสูงกว่าถนนที่ควรแต่งขอบให้โค้งและปูหญ้าถึงขอบถนน เพื่อกันดินพัง

3.6 การปรับหลุมปลูกต้นไม้

การปรับหลุมปลูกต้นไม้ (Soil Preparation) ควรปลูกต้นไม้หรือไม้ประธานก่อน แล้วจึงเป็นไม้พุ่ม ให้คลุมดิน ตามลำดับ วิธีการเตรียมก็ดูตำแหน่งของต้นไม้นั้น ๆ จากแปลน จะทราบถึงระยะห่างของต้นไม้จากำแพง หรือผนังบ้านได้ เมื่อได้ตำแหน่งของต้นไม้แต่ละต้นแล้วใช้ปูนขาวไปวงตามจุดนั้นเพื่อที่จะเตรียมขุดโดยกะขนาดหลุมให้ตามชนิดของต้นไม้ เมื่อขุดดินออกแล้ว ควรย่อยดินให้ละเอียดผสมกับปุ๋ยที่ขายทั่วไป ผสมปุ๋ยสูตรสเสมอและปูนขาวอย่างละกำ เพื่อช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี แล้วกลบลงไปในหลุมตามเดิมเพื่อเตรียมรอปลูกต้นไม้ต่อไป

การขุดหลุมปลูกไม้พุ่มควรขุดลึกประมาณ 0.4 – 0.5 m ถ้าไม้พุ่มอยู่ติดกันหลายต้นควรขุดต่อกันเป็นแปลงตามรูปร่างของตำแหน่งที่จะปลูก แล้วผสมดินใส่ปุ๋ยและปูนขาวตามสูตรหลังจากนั้นก็ขุดหลุมปลูกไม้คลุมดินควรขุดลึกเพียง 0.25 – 0.3 m ก็พอ ดินปลูกก็ดูตามชนิดของต้นไม้ด้วย ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกทั่วไป คาดตะกั่ว, หัวใจม่วง, ก้ามปูหลุด, มหากาษ, โป๊ยเซียนแคระ ฯลฯ

3.7 การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืช (Weed Control) ในระยะที่ทำการขุดหลุมเพื่อเตรียมปลูกต้นไม้นั้นหรือหลังจากปรับที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ วัชพืชก็จะงอกขึ้นมาภายหลังก็ควรกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกให้ได้มากที่สุด ถ้ามีมากควรใช้ยากำจัดวัชพืชฉีด แต่ถ้าฉีดก็ควรทิ้งไว้นานพอสมควร (ตามฉลากยา) จึงปลูกหญ้าได้การกำจัดวัชพืชก็ควรมีเรื่อย ๆ แม้ว่าจะปลูกหญ้าไปแล้วก็ตามก็ควรจะขุดวัชพืชทิ้งเมื่อเกิดขึ้นมาอีก

3.8 การวางก้อนหิน (Setting Stones)

ก้อนหินมีรูปทรงต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยไม่ได้ถูกตัดเพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะธรรมชาติของหินที่เปลี่ยนแปลงไปโดยภูมิอากาศต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแบบจะบอกถึงบรรยากาศของถิ่นที่มาของหินนั้น ๆ เช่น หินอาจเรียบหรือขรุขระ เนื่องจากลมและพายุ จากแม่น้ำ มหาสมุทร สีจะแสดงถึงความมั่นคงสงบนิ่ง หินที่มีรูปร่างกลม, หรือหินที่ขัดถูแล้วจะไม่นิยมใช้ในการจัดสวน เพราะจุทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ สีที่นิยมคือสีน้ำตาล, แดง, ม่วง, เขียวปนน้ำเงิน สีขาวไม่นิยมเพราะขาวเกินไปและไม่ประทับใจเมื่อมองดู และควรหลีกเลี่ยงการใช้สีก้อนหินที่ติดกัน

นักจัดสวนจะสำรวจรอบ ๆ หินแต่ละก้อนอย่างถี่ถ้วนก่อนเพื่อที่จะตัดสินใจดูว่าด้านไหนเป็นด้านหน้า ควรจะโชว์แก่ผู้ที่มาพบเห็น สังเกตจุดศูนย์ถ่วงของก้อนหินควรวางตรงไหน และจมลงดินเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในแต่ละก้อนที่วาง

3.8.1การวางก้อนหิน 2 ก้อน

นอกจากก้อนหิน 2 ก้อนแล้วก็จะจัดเป็น 3 ก้อน, 7 ก้อน ถ้ากลุ่มใหญ่ก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย สองหรือสามกลุ่มโดยมี 1 กลุ่มจัดเป็นรูปสามเหลี่ยมสูงสูงที่สุด และมีอีก 2 กลุ่มเล็ก และมี อีก 2 กลุ่มเล็ก วางให้สมดุลกับกลุ่มแรก

3.8.2 การจัดวางหิน 3 ก้อน

หลีกเลี่ยงการจัดวางก้อนหินที่มีขนาดรูปร่าง และกลุ่มก้อนวางอยู่ใกล้กันเพราะจะดูไม่เป็นธรรมชาติ และไม่จุดเด่นในกลุ่มหินนั้น ๆ

การเคลื่อนย้ายก้อนหินควรมีเครื่องทุ่นแรงช่วย เช่น รถเข็น ท่อนไม้ สำหรับงัดหิน เชือกสำหรับดึงหรือผูกก้อนหินเพื่อหาม เป็นต้น ถ้ามีการปรับที่แล้วไม่ต้องการให้ดินยุบไปตามน้ำหนักของล้อรถเข็นก็ใช้ไม้กระดานวางพาดบนรองล้อรถเข็นไว้ก็จะช่วยให้ดินไม่เป็นรอย ถ้าในกรณีหินก้อนใหญ่มากก็ต้องใช้บั้นจั่นช่วยยก ก่อนที่จะยกไปวางควรจะกะให้ดีถึงมุมใดที่ก้อนหินจะตั้งและขุดดินไว้ลึกพอสมควรที่ต้องการฝังหินลงจะได้ง่ายในการขยับและเคลื่อนย้ายหิน เพื่อไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตำแหน่งบ่อย

3.9 การปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน (Planting)

เมื่อได้เตรียมหลุมและเตรียมดินในหลุมเรียบร้อยแล้วก็เตรียมปลูกต้นไม้มาจากแหล่งชื้อต่าง ควรปลูกไม้ใหญ่ก่อน โดยนำต้นไม้ไปใกล้ปากหลุม ถอดกระถางออกหรือทุบกระถางให้แตกเพื่อกันการกระเทือนของรากโกยดินออกจากหลุมให้ลึกเท่ากับความสูงของกระถางวางต้นไม้ไว้ในหลุม กลบดินให้แน่นให้โคนต้นไม้เสมอปากหลุมรอบ ๆ โดยต้นไม้ควรทำเป็นแอ่งรับน้ำไว้ เพื่อให้ต้นไม้ได้รับมากที่สุด เมื่อปลูกแล้วควรค้ำโดยไม้ไผ่, ไม้สน ใช้ไม้ประมาณ 3 อัน โดยจับต้นไม้ให้ตรงแทงกิ่งไผ่ลงในดิน ค้ำเป็นสามเหลี่ยมมัดด้วยเชือกให้แน่นทั้งนี้เพื่อการกันโยกของต้นเทื่อลมพัดเพราะการโยกของต้นจะทำให้รากกระเทือนหรือขาดได้

การปลูกไม้พุ่มในแปลงใหญ่ที่เตรียมไว้ การเว้นระยะที่พอเหมาะพอการเจริญเติบโตของไม้พุ่มชนิดนั้น ๆ ด้วย ถ้าต้นไม้อยู่ในตำแหน่งที่ลมพัดแรงก็จะทำให้ทุกต้นและควรรอจนไม้เหล่านั้นตั้งตัวได้ จนแตกใบใหม่ออกมาจึงเริ่มตัดแต่งที่รงพุ่มให้เป็นตามที่ต้องการ

การปลูกไม้คลุมง่ายต่อการถอดกระถางออก เพราะเป็นกระถางเล็กจะลงไม้คลุมดินส่วนใหญ่ค่อนข้างทนทาน เมื่อถอดกระถอดอย่างลือเอาเศษกระดาษที่รองใต้กระถางออกด้วยถ้าภายในกระถางมีหลายต้นก็แยกออกปลูกได้จะได้ประหยัดต้นไม้อีกเพราะไม้คลุมดินเติบโตได้เร็วและต้องตัดแต่งอยู่เสมอเพื่อไม่ให้หนาแน่นไป

การปลูกต้นไม้ชนิดต่าง ๆ สมควรให้เป็นไปตามที่กำหนดแต่เมื่อได้ทำการปลูกและจัดวางตามแปลงไว้ ความรู้สึกของผู้ออกแบบที่มองสวนในขณะนั้นไม่สมบูรณ์หรือมีความรู้สึกว่าบางสิ่งบางอย่างขาดหายไปก็สมควรที่จะเพิ่มเติมบางส่วนโดยใช้ต้นไม้, หิน ฯลฯ เพื่อให้บริเวณนั้น ๆ ดูเหมาะสมกลมกลืนมากขึ้น การปรับปรุงและการเพิ่มเติมนี้จำเป็นแทบทุกครั้งเพราะเคยกล่าวแล้วว่าแบบจะให้ผลสมบูรณ์เพียง 80 – 85 % เท่านั้นจะไม่ครบถึง 100% เต็มตามที่ได้กล่าวไว้ นอกจากในกรณีจำเป็นจริง ๆ เช่นงบประมาณที่กล่าวไว้มีจำนวนจำกัดมากหรือเจ้าของบ้านพอใจให้เป็นตามแบบ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ออกแบบ อาจชี้แจงให้เข้าใจหรือจะจบงานไว้เพียงแค่นี้ไม่ได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่เป็นผลดีต่อผู้ออกแบบ เพราะในความรู้สึกของผู้ออกแบบจะทราบถึงข้อบกพร่องที่ต้องเพิ่มเติมแก้ไขแต่เมื่อทำไม่ได้ก็จะทำให้ผู้ออกแบบไม่ภูมิใจในผลงานเท่าที่ควรเพราะถือว่าไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างสมบูรณ์

3.10 การปูหญ้า (LAWN Installation)

ก่อนที่จะปลูกหญ้า ควรจะปรับที่ให้เรียบ เพราะหน้าดินอาจจะถูกซะเป็นร่องหรืออาจเป็นหลุม ควรปรับให้เรียบ โดยใช้ดินถมหลุมอัดให้แน่นดูการระบายน้ำเมื่อฝนตก หรือเมื่อรดน้ำเพื่อปรับระดับ ก่อนปลูกหญ้า

เมื่อปรับระดับเรียบร้อยแล้วก็ควรสั่งทรายและหญ้า ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเทศบาล โดยกะจำนวนให้ถูกต้อง

หญ้าควรเลือกชนิดให้ถูกต้องต่อสภาพของแสง เช่น ในร่มใช้หญ้ามาเลเซีย, แดดจัดใช้หญ้านวลน้อย, ญี่ปุ่น เบอร์มิวด้า ควรคำนวณว่าอย่างละกี่ตารางเผื่อขาดเหลืออีก 10 – 20 m ควรสั่งหญ้ามาส่งภายในวันที่จะปลูก ถ้าปูหญ้าหลายวันควรทยอยส่ง จะไม่ทำให้หญ้าเหลือง

ทราย อาจใช้หนา 1 – 2 cm คำนวณคร่าว ๆ ใช้ทราย 1 ลูกบาศก์เมตร ต่อพื้นที่ 60 ตารางเมตร กะสั่งทรายมาส่งก่อนหญ้า 1 วัน

ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ย ก.ท.ม 1 กระสอบต่อพื้นที่ 60

ปูนขาว เพื่อลดความเป็นกรดของดิน 1 ถุงต่อพื้นที่ 60 ใช้ปูนขาวฝุ่น ไม่ควรใช้ปูนขาวก่อสร้าง

มีดสำหรับตัดหญ้า, ไม้สำหรับทุบขอบหญ้า หรือลูกกลิ้งบกหญ้า

เมื่อวัตถุมีพร้อมทุกอย่างควรเริ่มโดยการนำทรายไปเกลี่ยบนพื้นที่ปลูกหญ้าใช้ไม้ปาดให้เรียบเพื่อปรับระดับที่เป็นหลุมบ่อเล็กน้อยให้สม่ำเสมอ โปยปูนขาวและปุ๋ยคอยหรือปุ๋ยเทศบาลให้ทั่วเริ่มปลูกหญ้าที่วางพับกันไว้อาจปูตามแนวใดแนวหนึ่งของสนามก็ได้วางหญ้าให้ขอบชิดกันพอดี หรือห่างกัน 1 cm เพื่อจะได้ใช้ลูกกลิ้งอัดทั้ง 4 ด้าน อีกครั้ง แต่ถ้าไม่มีลูกกลิ้งก็ปูหญ้าโดยจับขอบให้ชิดกันสูงจากนั้น 1 นิ้ว แล้วใช้มือทุบลงให้ชนกันสนิทที่พ้นหรือใช้ไม้ทุกอีกครั้งหนึ่งใหทั่วและปูต่อกันไปเรื่อย ๆ บริเวณโคนต้นไม้ควรปูให้ทับโคนแล้วตัดออกเป็นรูปวงกลมหลีกเลี่ยงการปูที่ต้องแซมหญ้านั้นเล็ก ๆ นิดเดียวเพราะโดยโอกาสตายจะมีมากกว่าพื้นใหญ่เมือปูให้ส่วนหนึ่งแล้วควรลดน้ำตามให้ชุ่มนอกจากดินจะชื้นมากอยู่แล้ว แต่ถ้ารดน้ำทันทีที่ปูเสร็จวันละ 2 – 4 ครั้งจนถึง 2 อาทิตย์ จึงลดวันละครั้งให้ชุ่ม

3.11 การปูทางเท้า (Laying pavements)

ควรปูทางเท้าหลังจากที่ได้ปูหญ้าเรียบร้อยแล้ว ก็กำหนดแนวทางเท้าบนสนามหญ้าให้ถูกต้อง อาจจะใช้ปูนขาวโรยเป็นแนวทางตามแบบ

เลือกวัสดุที่ทำเป็นทางเท้า ซึ่งมีหลายเหลี่ยมและหลายขนาดโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 cm, 30 cm รูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม วงกลมหรือหกเหลี่ยม ส่วนความหนานั้นแล้วแต่ชนิดของวัสดุ

หินล้าง : สะดวกในการใช้ ปลอดภัย สวยพอประมาณ ราคาปานกลาง

หินกาบ : ระวังเรื่อง ความคมของหินกาบ สวยมาก ราคาสูง

ซีเมนต์อัด : เป็นรูปต่าง ๆ ของบริษัทปูนซีเมนต์

ซีเมนต์ : แบบเรียบสี่เหลี่ยม ไม่มีสี ราคาถูก

ศิลาแลง : หนา 10 cm สวยเหมือนธรรมชาติ แต่เปราะง่าย

นอกจากตัวอย่างทางเท้าสำเร็จรูปที่กล่าวมาแล้วก็อาจมีทางเท้าที่ทำขึ้นด้วยซีเมนต์เป็นตลอดแนว เช่น ลาดซีเมนต์เอากรวดโรย, หินหรืออิฐเป็นก้อน ๆ เป็นต้น ถ้าทำทางเท้าแบบนี้ควรทำก่อนจะปลูกหญ้า

เมื่อเลือกวัสดุที่จะทำเป็นทางเท้าได้แล้วก็จะทำการปูไดเลย โดยปูห่างจากจุดศูนย์กลางของแผ่นเท่ากับ 60 cm เพราะถ้าใกล้กันเกินไปจังหวะที่พลาดไปคือเดินลงไปบนหญ้าสลับกับทางเท้า ถ้าจะให้แน่ใจควรลองวางดูด่อนเล้วเดินดูก่อนแล้วเดินดูก็จะดีเมื่อวางแผ่นทางทางเท้าลงบนเส้นที่กำหนด คือ ให้แนวปูนขาวเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของแผ่นทางเท้าเท่ากันตลอดใช้มีดเฉือนหญ้าตามรูปแผ่นทางเท้า

การตัดหญ้า, ให้ปุย, ฉีดยาฆ่าแมลง (Mowing, Fertilizing and Past Control)

เมื่อปูหญ้าได้ประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว ก็ควรตัดหญ้าที่ปูไว้จะขึ้นไม่เสมอกัน ไม่ควรปล่อยให้หญ้าสูงเกินไป หรือมีดอกเพราะจะทำให้หญ้าเหลืองเมื่อตัดหญ้าออก ควรตัดหญ้าแห้งไม่เปียกน้ำ แต่โดยประมาณ 12 – 14 วันต่อ 1 ครั้ง โดยตัดออกประมาณ

3.11.1 เครื่องมือที่ใช้ตัดหญ้ามี

- กรรไกร ใช้ตัดแต่งสนามแคบ ๆ

- เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัดหมุน ใช้ตัดหญ้าได้สูง 1 – 5 นิ้ว

- เครื่องตัดหญ้าแบบใบพัด หรือลูกกลิ้ง เมื่อตัดหญ้าเรียบร้อยแล้ว ควรใส่ปุ๋ยสูตร

13 - 13 - 13 สลับกับปุ๋ยยูเรีย

3.12 การเก็บงานและส่งมอบงาน (Completed work)

หลังจากที่ปลูกต้นไม้เสร็จในระยะ 1 เดือนก่อนที่จะส่งงานมอบต่อเจ้าของบ้านควรจะมีการเจริญเติบโตของต้นไม้, โรคแมลง และต้องตัดหญ้าสม่ำเสมอ ถ้ามีต้นไม้ใดเกิดตายหรือชำรุดก็ควรเปลี่ยนให้เรียบร้อย

ถ้าหากมีปัญหาหรือสวนรกก็สามารถแก้ไขได้โดยการแตกหน่อ, ตอน, ตัดแต่ง ย้ายต้นถ้าแน่นไป จะช่วยให้สวนคงสภาพความสวยงามไว้ได้

3.13 การทำพื้นที่นั่งพักผ่อน

เป็นจุดที่เด่นที่สุดของสวน จึงควรกำหนดเป็นจุดแรก ว่าจะใช้พื้นที่มากน้อยขนาดไหน ส่วนใหญ่แล้ว พื้นที่ส่วนนี้ มักทำให้กว้างกว่า ขนาดของโต๊ะ-เก้าอี้ ไม่มากนัก เพื่อไม่ให้เสียพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ยกเว้นแต่ว่า ถ้าคุณมีพื้นที่ เหลือค่อนข้างมาก ก็อาจจะ สร้างพื้นที่นั่ง ให้ค่อนข้างใหญ่ เผื่อไว้ให้เด็กๆ วิ่งเล่น ,ทำซุ้ม ไม้ประดับ ,เพิ่มเติมสระน้ำ หรือน้ำพุ เพิ่มความชุ่มชื่นเข้าไปด้วยก็ได้

3.14 การทำทางเดิน
นอกเหนือจากเพื่อการเดินชมสวนแล้ว ทางเดินในสวนยังมีประโยชน์ในการเข้าไปรดน้ำ,ตัดแต่งกิ่ง , ให้ปุ๋ย ดังนั้นจึงควรมี ทางเดิน ที่สามารถเข้าไปดูแลต้นไม้ได้ทั่ว ทุกจุดของสวน
พื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ควรกำหนดจุดที่จะลงไม้ยืนต้นก่อนเป็นอันดับแรก โดยสังเกตว่าจุดไหนที่ได้แดดสม่ำเสมอบ้าง เพราะไม้ยืนต้น ส่วนใหญ่ค่อนข้าง จะชอบแดด เมื่อได้ไม้ยืนต้นเรียบร้อยแล้วค่อยมากำหนดพันธุ์ไม้อื่นๆ ซึ่งควรจะปลูกไล่ลงมา ตามลำดับความสูงของต้น จากต้นใหญ่สุด จนกระทั่งเล็กสุดให้ล้อมอยู่ด้านนอก จำทำให้เรา สามารถชื่นชม ความงามของ ต้นไม้ แต่ละต้นได้เต็มที่ ไม่บดบังกัน และสวนจะดูมีมิติมากขึ้นด้วย

3.15 สิ่งที่ควรระวังก่อนปลูกหญ้าและต้นไม้
เมื่อเวลาปลูกบ้านเสร็จใหม่ๆ พื้นที่โดยรอบซึ่งจะทำ เป็นสนามหญ้าหรือปลูกต้นไม้เล็กและใหญ่ จะต้องเก็บเศษ หินและเศษปูน ออกให้หมดก่อน ไม่ใช่ถมลงไปเลยซึ่งจะทำ ให้ปลูกหญ้าหรือต้นไม้ไม่ขึ้น หรือถ้าขึ้นก็จะโตช้ากว่าปกติ ก่อนที่จะถมดิน หรือ ปรับระดับดิน ควรจะคิดถึงทาง ระบายน้ำให้เรียบร้อยก่อน โดยปรับระดับให้สามารถไหล ออกไปสู่ท่อระบายน้ำภายใน หรือออกสู่ท่อสาธารณะได้ เพราะถ้ามิได้คิดไว้ก่อน เวลาฝนตกลงมาหรือรดน้ำ ต้นไม้ ถ้าดินไม่สามารถ ระบายน้ำ ทันก็จะทำให้ รากของต้น ไม้เน่าได้ และอีกอย่างที่ไม่ควรลืมก็คือ ก๊อกสำหรับรดน้ำต้น ไม้ด้วย

3.16 วิธีปลูกต้นไม้ใหญ่บริเวณบ้าน
ทุกวันนี้นิยมนำต้นไม้ขนาดใหญ่มาปลูกเลย โดย ไม่ได้โตจากต้นขนาดเล็กจึงต้องควรระวังมาก โดยเฉพาะ ต้นไม้ที่ไม่มีรากแก้ว มีแต่รากฝอย เพราะถ้านำมาปลูก ใกล้ตัวบ้าน เวลาลมพัดแรงๆ อาจจะทำให้ล้มลงมาทับตัว บ้านได้ ซึ่งจะไม่คุ้มกันเลย เพราะฉะนั้น เวลาจะปลูกต้นไม้ ขนาดใหญ่ จะต้องมีค้ำยันอย่างแน่นหนาทุกทิศทาง และ ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 ปี ถ้าจะให้ดีควรปลูกห่างจากตัว บ้านจะปลอดภัยที่สุด

3.17 วิธีการจัดวางต้นไม้ภายในบ้าน

การจัดวางต้นไม้ภายในบ้าน ต้องคำนึงถึง
-ไม่ควรวางต้นไม้ใกล้หรือบนสิ่งที่มีอุณหภูมิสูง เช่น หลังตู้เย็น
-ไม่ควรวางในที่อับลม เพราะว่าต้นไม้เป็นสิ่งมี ชีวิต ต้องการการถ่ายเทของอากาศ
-ไม่ควรวางในที่ลมแรงเกินไป เพราะอาจทำให้ ต้นไม้ล้มได้
- หากวางต้นไม้ใกล้หน้าต่างที่มีแสงส่องต้นไม้ ควรหมุนต้นไม้ให้ได้รับแสงทั่วทั้งต้นเสมอๆ เพื่อไม่ให้ต้น ไม้โน้มลำต้น ไปหาแสงเพียงด้านเดียว
- ควรเลือกต้นไม้ที่อยู่ในร่มได้ มิฉะนั้นต้องเปลี่ยน บ่อยๆ หรืออาจทำให้ต้นไม้ตายได้

3.18 การเลือกขนาดของต้นไม้ให้เหมาะสมกับห้อง
การเลือกขนาดของต้นไม้ควรพิจารณาขนาดของห้อง และความสูงต่ำของเพดานเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเพดานห้องต่ำก็ไม่ควร ใช้ต้นไม้ ที่มีทรงสูงชลูดอย่างเช่น ปาล์ม ซึ่งเมื่อต้นโตถึงเพดานแล้วจะทำให้รูปทรง เสีย จึงควรใช้ต้นไม้ที่สูงต่ำกว่าเพดานบ้าน
ในกรณีที่ ฝ้าเพดานสูงมาก การใช้ต้นไม้สูงเกือบถึงเพดานจะช่วยลดความรู้สึกว่าห้องสูงได้ ทำให้ไม่ดูอ้างว้าง และช่วย ทำให้เกิด ความรู้สึกอบอุ่น และเป็นกันเองมากขึ้น ด้วย
ควรเลือกชนิดของพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมสำหรับอยู่ ในที่ร่ม มีใบค่อนข้างหนา และมีโครงสร้างแข็งแรง จึงจะ สามารถอยู่ในร่ม ได้นานไม่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ

3.19 วิธีทำให้ต้นไม้ภายในบ้านดูสวยและสดชื่น
ถ้าจะปลูกต้นไม้ภายในบ้านที่มีจำนวนมาก ควรจะ มีบริเวณรอบบ้านเอาไว้พักต้นไม้เพื่อหมุนเวียน เพราะต้นไม้ ที่สามารถ อยู่ในที่ร่มได้ จะอยู่ได้เพียง 1-2 อาทิตย์เท่า นั้น ซึ่งจะทำให้ต้นไม้เหี่ยวเฉาได้ ควรจะนำออกมาภายนอก บ้านประมาณ 1 เดือน แล้วจึงเวียนนำเข้าไปใหม่ และส่วน ที่พักต้นไม้ควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และมีแดดรำไรไม่ มากจนเกินไป

3.20 วิธีการปลูกต้นไม้บนดาดฟ้าบ้าน
การปลูกต้นไม้บนดาดฟ้า จะต้องคำนึงถึง
3.20.1 ได้เตรียมโครงสร้างเผื่อไว้หรือไม่ เพราะน้ำหนัก ต้นไม้ ดิน และน้ำที่รดลงไป จะมี น้ำหนักมากเมื่อรวมกัน จะต้องบอกวิศวกรด้วยว่าจะปลูกต้นไม้
3.20.2 จะต้องเตรียมรูระบายน้ำให้เพียงพอ และสามารถ ตรวจเช็คได้ โดยไม่ให้ดินกลบหมด เพราะมิฉะนั้นจะทำให้ อุดตัน ทำให้ต้นไม้ตาย และเพิ่มน้ำหนักน้ำเข้าไปมากกว่า ปกติด้วย ทั้งต้องไม่ลืมก็อกน้ำ เพื่อรดต้นไม้ด้วย
3.20.3 ความลึกของตัวดาดฟ้า ต้องมีอย่างน้อย
30 ซม. จนถึง 1 เมตร จึงจะทำให้มีดินเพียงพอในการปลูกต้นไม้ และพื้นผิวคอนกรีต จะต้องทำระบบกันน้ำเป็นพิเศษ สำหรับ ปลูกต้นไม้โดยเฉพาะ


3.21 การทำสวนกระบะบนบ้าน
สวนกระบะก็คือ สวนที่มีขอบเขตค่อนข้างจำกัดใช้ วัสดุและพืชพันธ์น้อยชนิด สำหรับวัสดุที่ใช้ทำกระบะเลือก ใช้ได้ตาม ความชอบ จะเป็นปูน หรือกระถางดินเผาสำเร็จ รูปก็ได้ แต่ถ้าเป็นกระบะปูนควรมีความลึกพอสมควร ผิว ซีเมนต์ จำเป็นต้องขัดมัน เพื่อไม่ให้ความชื้นจากดินและน้ำ ระเหยออกมาสู่ภายนอกได้ กระบะทุกอัน ต้องมีรู ระบายน้ำเสมอ เพื่อไม่ให้ต้น ไม้เน่า เมื่อเวลารดน้ำ ถ้าเป็นกระบะที่ระเบียงบ้าน ควรระ วังเรื่องการระบายน้ำว่าจะไปทางไหน และไม่ให้ไปอุดตันท่อ รูระบายน้ำ ควรใส่ตะแกรงไว้ด้วยเพื่อกันเศษดิน
มาถึงขั้นตอนสุดท้าย การเลือกพันธุ์ไม้ พิจารณา ได้จากขนาดของกระบะ และความสัมพันธ์กันระหว่างขนาด ของลำต้นและใบของพันธ์ไม้ เพราะเมื่อเจริญเต็มที่ แล้วจะ ดูสวยงามตลอดไป

บทที่ 4

การจัดสวนชิงช้า

4.1 มุมชิงช้าในสวน

สวนมุมชิงช้าแห่งนี้ เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่สวนค่อนข้างกว้าง เพราะต้องใช้พื้นที่ประมาณ 7 x 6.5 ม. สวนแห่งนี้เป็นมุมสำหรับนั่งเล่น พักผ่อนในแวดล้อมของธรรมชาติได้อย่างดี เน้นการจัดสวนแบบเปิดโล่ง ให้พื้นที่ใช้สอยบางส่วนและเปิดมุมมองให้โปร่งตาก

เราจัดแบ่งพื้นที่สวนออกเป็น 2 ส่วน ส่วนของต้นไม้ที่รับมุมมอง ให้ร่มเงา และส่วนของการใช้พื้นที่ อันประกอบด้วย Hard Scape ที่เหมาะสมกับการใช้สอย ได้แก่ชิงช้าไม้ บนพื้นแผ่นหินทรายแดงตัดขอบ ขนาด 0.4 x0.4 ม. ทั้งวางเป็นพื้น และวางเป็นทางเดินบนพรมหญ้านวลน้อยสีเขียวอ่อน ด้านหลังของชิงช้าเป็นพุ่มคลุมดินของดาดตะกั่วที่ให้ใบสีม่วงเงิน ตัดกับพุ่มการะเกดด่างที่สีของใบเขียวด่างขาว ต่อเนื่องไปด้านซ้ายด้วยกอพุดกุหลาบ ที่ให้ดอกซ้อนสีขาวสวย ใกล้ๆกับโมกพวงสูง 1.5 เมตรที่ผลิดลอกขาวเป็นพวงห้อยกลิ่นหอมเย็นในยามค่ำ เบื้องหน้าของชิงช้าแบ่งพื้นที่ให้กำเนิดเสียงแห่งสวน ด้วยโอ่งน้ำล้นดินเผาที่ฝังตัวลงในดินล้อมด้วยกรวดแม่น้ำสีดำ ด้านหลังปกด้วยพุ่มกอของเฮลิโคเนีย หรือก้ามกุ้งเลดี้ได ที่ให้ดอกสีแดงไส้ครีมสวยงาม ปูผืนด้วยดาดตะกั่วสีม่วงเข้ม ภายใต้ร่มของหมากเหลืองสูง 2 ม. ประดับด้วยแท่งหินทรายสีเทาไล่ระดับ วางไม้ประธานของสวนนี้ด้วยต้นแคนากอใหญ่ ที่ให้ร่มเงาอย่างดี ประดับไม้พุ่มคลุมดินกำแพงเงิน บุษบาฮาวายใบสีเขียวอ่อน และดอกขาวบาง ทำให้มุมมองงดงามและให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี ในส่วนของมุมพักผ่อนเบื้องหน้าชิงช้าไม้อีกด้าน ประดับด้วยโอ่งดินเผาปลูกคล้าน้ำช่อตั้ง ที่ให้ดอกสีม่วงสวย กับฟอร์มใบที่ใหญ่ให้อารมณ์รีสอร์ต ต่อเนื่องความเขียวด้วยต้นซิกการ์สูง 1 ม. ลดหลั่นพุ่มด้วยลิ้นกระบือด่าง และปริกหางกระรอกพวงงามที่เข้ากับสนเลื้อยใบละเอียดสีเขียวเข้มตัด

ตาราง มุมชิงช้าในสวน ขนาดพื้นที่ 7 x 6.5 เมตร.
งบประมาณรวม 42,912 บาท

ตารางที่ 1 การเลือกซื้อพันธุ์พืช

ชนิดพืช Soft scape

ราคา

- แคนากอใหญ่ 1 ต้น

8,000 บาท

- หมากเหลือง สูง 2 ม. จำนวน 2 ต้น

1,000 บาท

- ซิกก้า สูง 1 ม. 2 กอ

400 บาท

- คล้าน้ำช่อตั้ง ขนาดกระถาง 12"

150 บาท

- หนวดปลาหมึกด่าง ขนาดกระถาง 8" จำนวน 2 กระถาง

70 บาท

- ชมกพวง สูง 1.5 ม. จำนวน 3 กอ

1,200 บาท

- ปริกหางกระรอก ขนาดกระถาง 8" จำนวน 5 กระถาง

250 บาท

- หนวดปลาดุกแคระ ขนาดถุง 3" จำนวน 35 ถุง

350 บาท

- สนเลื้อย ขนาดกระถาง 12" จำนวน 2 กระถาง

300 บาท

- ลิ้นกระบือด่าง ขนาดกระถาง 6" จำนวน 38 กระถาง

570 บาท

- พุดกุหลาบ ขนาดถุง 4" จำนวน 50 ถุง

500 บาท

- ก้ามกุ้งเลดี้ได ขนาดกระถาง 6" จำนวน 75 กระถาง

1,125 บาท

- ดาดตะกั่ว ขนาดถุง 3" จำนวน 118 ถุง

590 บาท

- กำแพงเงิน ขนาดถุง 4" จำนวน 20 ถุง

200 บาท

- บุษบาฮาวาย ขนาดถุง 3" จำนวน 60 ถุง

300 บาท

- การะเกดด่าง ขนาดถุง 4" จำนวน 10 ถุง

100 บาท

- หญ้านวลน้อย 16 ตรม.ๆละ 30 บาท

480 บาท

- ดินปลูกและปุ๋ย 50 ถุงๆละ 25 บาท

1,250 บาท

ตารางที่ 2 การซื้ออุกปกรณ์ก่อสร้าง

อุกปกรณ์ก่อสร้าง

ราคา

- ชิงช้าไม้สัก 1 ตัว

7,500 บาท

- ไม้หมอนรถไฟ 3 ท่อน

1,200 บาท

- โอ่งดินเผา ขนาด 0.70 ม. สูง 0.80 ม.

150 บาท

- ชุดน้ำล้น โอ่ง อ่งพลาสติก ปั๊มน้ำ 1 ชุด

2,000 บาท

- ก้อนหินทรายแดง ขนาด 0.5 x0.7 ม. 3 ก้อน

900 บาท

- กรวดแม่น้ำสีขาว ขนาด 1 ?" จำนวน 12 ถุง

840 บาท

- กรวดแม่น้ำสีดำ ขนาด 1 ?" จำนวน 3 ถุง

210 บาท

- แท่งหินทราย ความสูง 3 ระดับ 1 ชุด

1,500 บาท

- แผ่นหินทรายแดง ขนาด 0.4 x0.4 ม.ตัดขอบ 13 แผ่น

845 บาท

- แผ่นหินทรายแดง ขนาด 0.4 x 0.8 ม.ตัดขอบ 27 แผ่น

3,780 บาท

- ค่าดำเนินการ 20%

7,152 บาท

รวมงบประมาณ

42,912 บาท

บทที่ 5

ประเภทของสวน

5.1 ประเภทของสวน

5.1.1 การจำแนกประเภทของการจัดสวน
5.1.1.1 การจัดสวนแบบเรขาคณิต
5.1.1.2 การจัดสวนแบบเลียนแบบธรรมชาติ
5.1.1.3 การจัดสวนแบบประดิษฐ์

5.1.2 การจำแนกชนิด และรูปแบบของการจัดสวน
5.1.2.1 สวนหย่อม
5.1.2.2 สวนญี่ปุ่น
5.1.2.3 สวนสาธารณะ
5.1.2.4 สวนครัว
5.1.2.5 สวนป่า
5.1.2.6 สวนภูเขา
5.1.2.7 สวนหิน
5.1.2.8 สวนถาด

5.1.2.9 สวนแก้ว
5.1.2.10 สวนบัว
5.1.2.11 สวนน้ำ
5.1.2.12 สวนแบบไทย

รูปที่ 5 สวนบาหลี

รูปที่ 6 สวนญี่ปุ่น

5.2 สวนแบบต่างๆ

5.2.1 สวนประดิษฐ์ (Formal garden)

เป็นสวนที่ออกแบบโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และวงกลม พรรณไม้ส่วนใหญ่ ถูกตัดแต่งใน สวนแบบประดิษฐ์ การออกแบบ จะมีแกนกลาง เพี่อความสมดุลของสวน ทั้งสองข้าง และมีจุดเด่น ถึงดูดสายตา สวนประดิษฐ์ มักใช้กับพื้นที่ขนาดใหญ่หรือ สถานที่ราชการ เพี่อสร้างความหรูหราและสง่างามของสถานที่

5.2.2 สวนโมเดิร์น (Modern garden)

เป็นสวนที่เน้น การใช้แนวเส้นและ รูปทรงเรขาคณิต ที่เรียบง่ายในการออกแบบ โดยใช้วัสดุตกแต่ง ที่ดูทันสมัย เข้ามาประกอบ เช่น รูปประติมากรรม ต่างๆ การออกแบบอาจสื่อความหมายถึงบางสิ่ง ไม่นิยมใช้พรรณไม้ปริมาณมากๆ แต่เลือกใช้เฉพาะ ต้นที่มีรูปทรงที่โดดเด่น

5.2.3 สวนหิน (rock garden)

เป็นสวนที่ใช้ หินและกรวด เป็น องค์ประกอบหลัก ในการจัด โดยเลือกใช้ ความหลากหลาย จากลักษณะและ ชนิดของหิน ที่แตกต่างกันทั้ง สี รูปร่าง และผิวสัมผัส สำหรับ พรรณไม้ ที่ใช้นั้นอาจเป็น ชนิดที่สร้าง บรรยากาศให้ร่มรื่น เช่นไม้ยืนต้นให้ร่มเงา หรือแห้งแล้ง เช่น กระบองเพชร เป็นต้น

5.2.4 สวนธรรมชาติ (Natural garden)

มักใช้เส้นโค้งในการออกแบบ ซึ่งช่วยให้เกิดรูปทรงอิสระ สร้างรูปแบบที่นุ่มนวล สบายตา โดยเลียนแบบธรรมชาติเป็นสวนที่มักใช้เส้นโค้งในการออกแบบ ซึ่งช่วยให้เกิดรูปทรงอิสระ สร้างรูปแบบที่นุ่มนวล สบายตา โดยเลียนแบบธรรมชาติ

บทที่ 6

การดูแลรักษาสวน การปรับปรุงสวน

6.1 การดูแลรักษาสวน การปรับปรุงสวน

การจัดสวน ประดับตกแต่ง อาคารสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่า การออกแบบสวน การจัดสวน จะทําให้ผลที่ออกมาสวยงาม เพียงใดก็ตาม หากสวนนั้น ขาดการเอาใจใส่ดูแลรักษา หรือดูแลรักษาไม่ถูกต้อง ความสวยงาม ดังกล่าวก็จะค่อย ๆ สูญเสียไปในที่สุด
การออกแบบสวน เป็นส่วนหนึ่งที่จะทําให้ การดูแลรักษาสวน ง่ายหรือยากได้ หากเจ้าของสถานที่ ไม่มีเวลาที่จะเอาใจใส่ ดูแลรักษาสวนมากนัก ก็ควรจะจัดสวนให้ดูแลรักษาได้ง่าย ใช้พรรณไม้ ที่ไม่ต้องการการดูแลมาก ทนทานต่อ สภาวะแวดล้อม ได้ดี และค่อนข้างเจริญเติบโตช้า แต่ถ้าหากเจ้าของเป็น คนรักธรรมชาติ มีเวลาให้กับสวนได้มาก มีความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับ พรรณไม้ต่าง ๆ การออกแบบจัดสวน ก็สามารถเลือกใช้ พรรณไม้แปลก ๆ ที่ต้องการการเอาใจใส่ ดูแลรักษามากได้ นอกจากนี้ การออกแบบจัดสวน จะต้องให้สะดวก เหมาะสมกับการเข้าไป ปฏิบัติงาน ในการดูแลรักษา ได้ง่ายด้วย เพราะ การจัดสวน เป็น การจัดวางสิ่งที่มีชีวิต มีการเจริญเติบโต ต้องการการดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากปล่อยทิ้ง ให้สวนนั้น เจริญเติบโตไปตาม ธรรมชาติ สักระยะหนึ่ง พรรณไม้ต่าง ๆ จะเจริญเติบโตมากเกินไป สวนที่เคยสวยงามใน ครั้งแรกก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เสื่อมสภาพได้ ดังนั้น การดูแลรักษา จึงเป็น สิ่งสําคัญ ที่จะช่วยให้สวนนั้น คงสภาพ
ความสวยงามให้ทนนานที่สุด ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสวนให้คงสภาพนั้น จะเป็นจํานวนเงิน ที่ค่อนข้างมากกว่า การออกแบบจัดสวน ในปัจจุบัน อาชีพ การดูแลรักษาสวน เป็นอีกอาชีพหนึ่ง ที่สามารถ ทํารายได้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้ค่อนข้างมาก

การดูแลรักษาสวน (maintenance) เพื่อให้สวนสวยงาม คงสภาพเดิมนานที่สุด มีวิธีที่จะต้องปฏิบัติดังนี้

6.2 การตัดแต่งพรรณไม้

การตัดแต่งพรรณไม้ เป็นการตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก วัตถุประสงค์ของการตัดแต่งก็เพื่อจะให้ไม้นั้น ๆ มีรูปทรงตามที่ต้องการ การตัดแต่งเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับไม้ต้น (tree) และไม้พุ่ม (shrub)

ไม้ต้นและไม้พุ่ม ที่นํามาจัดสวนจะมีการเจริญเติบโต จนรูปทรงเปลี่ยนแปลงไป การตัดแต่งจะช่วยให้ไม้นั้น ๆ คงสภาพรูปทรงที่เราต้องการได้

การตัดแต่งที่ถือปฏิบัติเริ่มแรกจะเป็นการตัดแต่ง
- กิ่งที่แห้งตาย
- กิ่งที่อ่อนแอ ฉีกขาด
- กิ่งที่เป็นโรค
- กิ่งที่เจริญผิดปกติ
- กิ่งที่แทงเข้าภายในพุ่มต้น

การตัดแต่งต่างๆ เหล่านี้ จะทําให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงสว่าง ลม จะได้พัดผ่านเข้าไปในทรงพุ่มได้สะดวก ในกรณีของไม้ยืนต้น การตัดแต่งจะช่วยควบคุมการเจริญเติบโต ช่วยเพิ่มผลผลิต ส่วนไม้พุ่มจะทําให้รูปทรงของพุ่มต้นสมดุล การตัดแต่งไม้พุ่ม จะเริ่มตั้งแต่การเด็ดยอด (pinching) เพื่อให้ไม้พุ่มแตกตาข้าง ทําให้การเจริญเติบโตทางด้านยอดลดลง หลังจากนั้นอาจจะมีการขลิบ (trimming) แต่ง ลิดใบและยอดที่เจริญแทงออกมาจากทรงพุ่ม ในกรณีที่ทรงพุ่มแน่นเกินไปก็จะตัดแต่งกิ่งแก่ออกบ้าง โดยตัดให้ชิดพื้นดิน ส่วนไม้พุ่มที่แทงหน่อออกมาจะต้องตัดออก โดยตัดให้ลึกลงไปใต้ระดับดิน

ส่วนไม้พุ่มที่ต้องการให้มีการเจริญเติบโตใหม่ (rejuvenate) เนื่องจากมีอายุมากแล้ว ให้ตัดส่วนของไม้นั้น เหลือเพียงหนึ่งในสามของความสูงเดิม ดูแลรักษาให้เจริญเติบโตใหม่ การตัดแต่งไม้พุ่มให้เล็กลง จะช่วยให้มีการแตกกิ่งยอดใหม่ ทําให้ไม้พุ่มนั้นมีดอกมากขึ้น

การตัดแต่งพรรณไม้ แต่ละครั้ง เครื่องมือที่ใช้จะต้อง เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เครื่องมือจะต้องคมและใช้ให้ถูกต้อง นอกจากนี้หากรอยแผลที่ถูกตัดแต่งมีขนาดใหญ่จะต้องใช้ยาทาแผล เพื่อป้องกันการเข้าทําลายของเชื้อ

เครื่องมือที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่ง
- กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ซึ่งมีทั้งชนิดที่ถือมือเดียวและชนิดที่ต้องใช้สองมือช่วย
- เลื่อยตัดแต่งกิ่ง

6.3 การให้ปุ๋ย

พรรณไม้ต่าง ๆ เป็นสิ่งมีชีวิตต้องการปัจจัยในการเจริญเติบโตเหมือนสิ่งมี ชีวิตอื่น ๆปัจจัยหนึ่งซึ่งสําคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโต คือ อาหารธาตุ การให้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตามที่พืชต้องการจะช่วยให้พืชนั้น ๆ มีการเจริญเติบโตตามปกติ ธาตุอาหารที่พืชต้องการมีอยู่ 16 ธาตุแบ่งออกเป็น

- ธาตุอาหารหลัก (macro elements) ซึ่งได้แก่ C H O N P K
- ธาตุอาหารรอง (micro elements) ได้แก่ Ca Mg S
- ธาตุอาหารประกอบ (trace elements) ได้แก่ Fe Mn Cu Zn Mo B Cl

ธาตุอาหารต่าง ๆ เหล่านี้พืชจะต้องการในปริมาณที่ต่าง ๆ กัน ธาตุอาหารหลักพืชจะต้องการในปริมาณค่อนข้างมาก ส่วนธาตุอาหารประกอบพืชจะต้องการในปริมาณที่น้อยมากการให้ธาตุอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ จะให้ในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) และปุ๋ยอนินทรีย์ (inorganic fertilizer) ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเทศบาล ซากพืชซากสัตว์ เป็นต้น ปุ๋ยประเภทนี้จะสลายตัวค่อนข้างช้า ธาตุอาหารมีน้อย การใช้ปุ๋ยเหล่านี้ มักจะเป็นการใช้เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของดินปุ๋ยอนินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่สังเคราะห์ขึ้น เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือ ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่าง ๆ โดยจะเน้นที่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โปแตสเซียม (K) เป็นหลัก ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ นี้มีขายทั่วไปในท้องตลาด มีสูตรอาหารต่าง ๆ กัน ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ที่เลือกใช้ใน การบํารุงรักษาพรรณไม้ ส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ ปุ๋ยสูตร 30-10-20 เป็นต้น
การให้ปุ๋ยกับ พรรณไม้ต่าง ๆ ควรจะเลือกใช้ให้ถูกต้องกับชนิดของไม้นั้น รวมทั้งให้เหมาะกับระยะของการเจริญเติบโต และใส่ให้ถูกเวลา ซึ่งเวลาที่เหมาะสมใน การใส่ปุ๋ย ควรจะเป็นเวลาเช้าใน การดูแลรักษาสวน อาจจะมีการใส่ปุ๋ย ทุกสัปดาห์โดยแต่ละ สัปดาห์จะให้ในปริมาณที่ ไม่เข้มข้นมากนัก ใน ไม้กระถาง อาจจะใช้ปุ๋ยที่ สลายตัวช้า ให้ปุ๋ยนั้น ค่อย ๆ สลายตัวเป็นประโยชน์ต่อพืช โดยไม่ต้อง ใส่ปุ๋ยบ่อยครั้งก็ได้

6.4 การป้องกันกําจัดศัตรูพืช

การบํารุงดูแลรักษาสวน นอกจากการให้นํ้า ให้ปุ๋ย ดูแล สนามหญ้า รวมทั้งตัดแต่งพรรณไม้ ให้อยู่ในสภาพ ที่ต้องการแล้ว การป้องกันกําจัดศัตรูพืชเป็นสิ่งสําคัญเช่นกัน เพราะการเจริญเติบโตของพืชในธรรมชาติจะมีศัตรูต่าง ๆ คอยรบกวน ศัตรูเหล่านั้นอาจจะเป็นโรค หรือ แมลงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ อาจจะเกิดได้ทั้งโรคและแมลงพร้อม ๆ กันโรคที่พบ อาจจะเกิดจาก เชื้อรา แบคทีเรีย วิสา หรือ ไส้เดือนฝอยแมลง อาจจะเป็นแมลงปากกัด เช่น ด้วง หนอนต่าง ๆ หรือ แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยไฟเพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ไรแดง เป็นต้น

การฉีดพ่นสารเคมี เพื่อช่วยป้องกันโรคและแมลง ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะสวนที่จัดไว้จะอยู่ใน บริเวณ ที่ผู้คน จะต้องมา ใช้ประโยชน์ ควรเลือกใช้ชนิดที่มีอันตรายค่อนข้างน้อยใช้ให้ถูกต้อง โดยจะต้องศึกษา วิธีการใช้ ให้ละเอียดก่อนนํามาใช้ และใช้ด้วยความระมัดระวังภายหลังการฉีดพ่นสารเคมีผู้ฉีดจะต้องล้างมือ เปลี่ยนเสื้อผ้า ชําระร่างกาย ให้สะอาดก่อน ที่จะไปทํากิจกรรมอื่น ๆ

6.5 การปรับปรุงสวน

การปรับปรุงสวนสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการจัดสวนอย่างสวยงามและใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการนั้น แม้ว่าจะมีการดูแลรักษาเอาใจใส่ดีเพียงใดก็ตาม ช่วงเวลาที่ผ่านไปนานเข้า ความสวยงามต่างๆก็จะลดลง ตามกฎของธรรมชาติ เพราะองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดสวน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตเช่น พรรณไม้ต่าง ๆ หรือสิ่งไม่มีชีวิต เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ม้านั่งในสวน ทุกสิ่งจะต้องมีวันเสื่อมทรุดโทรม และตายไป ดังนั้นจําเป็น ที่จะต้องมี ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แก้ไข ให้สภาพของสวนสวยงามดังเดิม การดูแลบํารุงรักษาสวน ทั้งการให้นํ้า ใส่ปุ๋ย ป้องกันศัตรูพืช รวมทั้งการตัดแต่งจะช่วยให้พรรณพืชต่าง ๆ เจริญเติบโตสวยงาม แม้ว่า การตัดแต่ง จะช่วยให้ พรรณไม้ เจริญเติบโตใหม่ได้ แต่นานวันเข้า รูปทรงของพรรณไม้นั้น ๆ อาจจะเปลี่ยนแปลง จนไม่สามารถ ทําให้ได้รูปทรงที่ ต้องการ หรือ พรรณไม้ บางชนิดถูก โรคแมลงรบกวนจนตายไป การปรับปรุงสวนจะเริ่มตั้งแต่

1. ไม้กระถาง หากพบว่าดินปลูกในกระถางเหลือน้อยลง จําเป็นจะต้องเติมดินลงในกระถางหรือไม้กระถางนั้น เจริญเติบโตเกินกว่า จะอยู่ในกระถางเดิมได้ ก็ควรจะ เปลี่ยนกระถาง หรือ ย้ายไม้นั้น ลงปลูกในดิน หรือทําการเปลี่ยน ไม้กระถางใหม่

2. พรรณไม้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม หรือไม้เถาเลื้อย เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีพรรณไม้ต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะเจริญเติบโตจนเบียดกัน จําเป็นจะต้องแยกออกบางต้นหรือตัดแต่งให้ได้ขนาดที่ต้องการ หากจุดใด พรรณไม้ตายไปก็ควรจะรีบหาพรรณไม้นั้น ๆ มาปลูกทด แทน หรือจะเปลี่ยนแปลงเป็นไม้ชนิดอื่นก็อาจทําได้ ทั้งนี้ต้องพิจารณา ความเหมาะสมของพรรณไม้ นั้น ๆ ด้วย

3. สนามหญ้า การจัดสวนครั้งแรก ในขณะที่พรรณไม้ต่าง ๆ ยังมีขนาดเล็กอยู่ การใช้หญ้าสนาม มักจะเลือกใช้ หญ้านวลน้อย ซึ่งทนแดดและ เจริญเติบโตดี ทนต่อการเหยียบยํ่า ปูบริเวณสนามทั้งหมด แต่เมื่อไม้ต้น ที่นํามาใช้ จัดสวนเจริญเติบโตขึ้น ก็จะมีร่มเงาตามจุดนั้น ๆ หญ้านวลน้อย ก็จะค่อย ๆ ตายไปในที่สุด ดังนั้น บริเวณร่มเงา ไม้ใหญ่นี้ หากจะทําเป็น สนามหญ้า เหมือนเดิม ก็จะต้องใช้หญ้ามาเลเซียซึ่งทนร่มได้มาปูทดแทน หรือ จะรื้อหญ้า ออกแล้วใช้อิฐปูเป็นบริเวณลานพักผ่อนก็อาจทําได้

4. องค์ประกอบอื่น ๆ เช่น รั้ว ทางเท้า เก้าอี้สนาม ฯลฯ จะต้องตรวจสอบ หากพบว่า
ชํารุด เสียหาย ก็ควรจะทําการซ่อมแซม ปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หากเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ สมควรจะเปลี่ยนของใหม่มาใช้แทนตามจุดนั้น ๆ
นอกจากการปรับปรุงสวน ตามที่กล่าวแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพสวนทั้งหมดก็อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยที่เจ้าของ สถานที่ อาจจะเบื่อหน่ายความจําเจ หรือ มีความจําเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับ สภาวะนั้น ๆ เช่น การจัดสวนครั้งแรก เริ่มเมื่อมีครอบครัวใหม่ ๆ ต่อมาเมื่อมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นจําเป็นจะต้องมีสถานที่สําหรับเด็ก อาจจะต้องการบ่อทราย ชิงช้า บ้านตุ๊กตา

ต่อมาสมาชิกในบ้านเติบโตขึ้น เป็นหนุ่มสาว มีเพื่อนฝูงมาบ้าน สถานที่ต่าง ๆ ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงจาก บ่อทราย กลายเป็นเตาย่าง ลานพักผ่อน บ้านตุ๊กตาก็อาจจะเป็นที่เลี้ยงสัตว์ จนท้ายที่สุด เมื่อสมาชิก เริ่มแยกย้ายไป มีครอบครัวใหม่สภาพสวนก็จะเปลี่ยนเป็น สวนธรรมชาติ มีพรรณไม้ที่ต้องการการเอาใจใส่ดูแลไม่มากนัก รวมทั้งอาจจะมี แปลงพืชผักสวนครัว ให้เจ้าของสถานที่ได้ใช้ประโยชน์และใช้ ออกกําลังกายใน ช่วงปลายของชีวิต

บทที่ 7

อุปกรณ์ตัดหญ้า

7.1 เครื่องตัดหญ้า มีสามประเภทใหญ่ คือ

เป็น เครื่องตัดหญ้า ที่ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนโดยน้ำมัน ส่วนมีขนาดใบมีดตัด 30 ถึง 48 นิ้ว เครื่องตัดหญ้าแบบใบมีดหมุนเหวี่ยงนี้ จะมีใบจานกลมหมุน ด้วยความเร็วรอบสูงถึง 3,000 รอบต่อนาที ี้จะต้องอาศัย กำลังจากเพลาส่งกำลัง ของรถแทรกเตอร์ ซึ่งจะต้องมีการทดรอบ การหมุนของเพลา ส่งกำลัง ผ่านชุดเฟือง เสียก่อน เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงกำลังให้แก่ใบมีด การเปลี่ยนแปลงความเร็ว รอบของการหมุนของใบมีดนี้ สามารถทำการเพิ่มโดยทำการเปลี่ยนชุดเฟืองที่ห้องเกียร์ (gear box) สามารถทำงานได้รวดเร็วกว่า และประสิทธิภาพในการทำงานสูง






7.2 ส่วนประกอบสำคัญของ เครื่องตัดหญ้า

ส่วนประกอบสำคัญของ เครื่องตัดหญ้า คือ ใบมีดตัดหญ้า ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ 3 ประเภท

- ใบมีดเป็นเกลียวหมุน (cylinder/reel) มีใบมีดวางรอบแกนเป็นเกลียว ลักษณะการตัดหญ้าคล้ายกรรไกร แบบมาตรฐาน สำหรับการตัดหญ้าสนามจะมีใบมีด 5-6ใบ ใบมีดประเภทนี้จะตัดหญ้าได้สม่ำเสมอ ราบเรียบ และปลายใบหญ้าไม่ค่อยช้ำ ใบมีดแบบเกลียวหมุนจะทำให้ตัดหญ้าได้มีคุณภาพกว่าใบมีดแบบใบพัด
- ใบมีดแบบใบพัด (rotary) ใบมีดอาจเป็นเพียงใบเดียวหรือเป็นกลุ่ม ลักษณะการตัดคล้ายเคียวเกี่ยวข้าว โดยใช้แรงเหวี่ยง จากความเร็วรอบสูงในแนวราบ สนาม หญ้าที่ตัดด้วยใบมีดแบบนี้ จะไม่ค่อยราบเรียบนัก และอาจทำให้ใบหญ้าแตกช้ำ เมื่อใช้นานๆ ไปควรลับใบมีดให้คมก่อนตัดจะทำให้ตัดหญ้าได้ดีขึ้น

- ใบมีดแบบใบพัดสำหรับ เครื่องตัดหญ้า ไม่มีล้อขับเคลื่อน ด้วยแรงดันอากาศ หรือแบบบินร่อน (hover mower) ใบมีด ประเภทนี้จะมีปลายเรียวทั้งสองข้าง มีลักษณะการตัดแบบเคียว เกี่ยวข้าวที่เหวี่ยง ด้วยความเร็วรอบสูง ทำให้เกิด แรงดันอากาศ ซึ่งทำให้เครื่องยนต์ลอยตัวขณะตัดหญ้า ทำให้ควบคุมความสูง ของการตัดยาก ถ้าต้องการตัดหญ้าในระดับต่ำต้องใช้แรงกดช่วย หรือต้องตัด 2 ครั้ง ทำให้สิ้นเปลืองเวลา แต่มีข้อดีคือ มีน้ำหนักเบาช่วยให้ผ่อนแรงเวลาตัด และสะดวกในการเคลื่อนย้าย

7.3 การเตรียมพื้นที่ตัดหญ้า

7.3 .1พิจารณาว่าพื้นที่สนามหญ้าที่ต้องตัดหญ้ามีขนาดเท่าใด ถ้าพื้นที่กว้างใหญ่ควรใช้ที่ตัดหญ้าแบบนั่งขับ ถ้าพื้นที่ขนาดเล็ก ควรใช้ที่ตัดหญ้าแบบขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์โดยมีคนเดินตาม

7.3.2 รูปร่างของสนามหญ้าที่จะตัดมีผลต่อการเลือกใช้ เครื่องตัดหญ้า เช่นกัน คือ ถ้าสนามหญ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม มุมแหลม หรือเป็นแถบแคบๆ ไม่สะดวกต่อการใช้ เครื่องตัดหญ้าแบบนั่งขับ แต่ถ้าเป็นสนามหญ้า รูปทรงอิสระ ไม่มีพืชพันธุ์ภายใน สามารถเลือกเครื่องตัดหญ้าได้เกือบทุกประเภท

7.3.3 ระดับความราบเรียบ สม่ำเสมอของสนามหญ้าเป็นอีกสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณา คือ ถ้าสนามหญ้าราบเรียบดี ก็สามารถใช้ เครื่องตัดหญ้า ได้ทุกประเภท แต่ถ้าพื้นสนาม หญ้าเป็นหลุมเป็นบ่อ ควรใช้ เครื่องตัดหญ้า ที่มีใบมีด แบบใบพัด หรือ เครื่องที่ขับเคลื่อน ด้วยแรงดันอากาศจะดีกว่า เครื่องตัดหญ้า ที่ใช้ใบมีดแบบเป็นเกลียวหมุน

7.3.4 ความรวดเร็วในการตัดหญ้า จะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความราบเรียบ รูปร่างของสนามหญ้า และประสิทธิภาพของ เครื่องตัดหญ้า โดยมีความกว้างของใบมีดตัดหญ้า เป็นอีกปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณา คือ ยิ่งมีพื้นที่กว้างควรใช้ใบมีด ที่มีขนาดกว้าง ให้พอเหมาะกัน อาทิ พื้นที่ 400 ตร.ม. ควรใช้ใบมีดกว้าง 12 นิ้ว พื้นที่ 650 ตร.ม.ควรใช้ใบมีดกว้าง 14 นิ้ว เป็นต้น

7.3.5 ในช่วงฤดูฝนที่สนามหญ้าเปียกชื้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องตัดหญ้าที่มีล้อ เพราะจะทำให้สนามหญ้า เกิดรอย เนื่องจากน้ำหนักของเครื่องกดลง และควรเลี่ยงใช้ เครื่องตัดหญ้าไฟฟ้า เนื่องอาจจะเกิดอันตรายจาก กระแสไฟฟ้ารั่วได้ เครื่องตัดหญ้าไม่มีล้อ ที่ขับเคลื่อนด้วยแรงดันอากาศเป็น เครื่องตัดหญ้า ที่เหมาะที่สุด สำหรับการตัดหญ้าในฤดูฝน

บทสรุป

วิเคราะห์วิจารณ์การจัดสวน

การจัดสวน

การจัดสวนคือการจัดสภาพหรือตกแต่งสถานที่ให้เหมาะสมสวยงาม ทำให้สภาพแวดล้อม บรรยากาศน่าอยู่ และเอื้อประโยชน์ต่อกิจกรรมต่าง ๆ หรือวิทยาศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์ โดยนำหลักวิชาการ ความรู้ เทคนิค ศิลปะและประสบการณ์มาผสมผสานเข้าด้วยกัน นำสิ่งของหลาย ๆ สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นสิ่งประดิษฐ์และสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติผสมผสานกัน เพื่อสร้างหรือพัฒนาให้เกิดประโยชน์ เกิดทัศนียภาพ ที่มีความงดงามสูงสุด อาจเป็นการสร้างธรรมชาติรูปแบบใหม่หรือลอกเลียนแบบธรรมชาติ ลอกเลียนศิลปกรรมในอดีตนำมาดัดแปลงให้เข้ากับความต้องการของมนุษย์

การพัฒนาการของการออกแบบการจัดสวน

การพัฒนาการของการออกแบบการจัดสวนในปัจจุบันมีความทันสมัยมากขึ้นเพราะ สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบแปลนจัดสวร ทำให้มีรูปแบบแปลนจัดสวนที่หลากหลายให้กับลูกค้าเลือกสวนที่ถูกใจและนี่ถือเป็นการพัฒนาการอีกหนึ่งก้าวของผู้ประกอบการจัดสวน

ปัญหาของเศรษฐกิจทำให้ผู้ประกอบการจัดสวนได้รับผลกระทบ

การเมืองไทยในปัจจุบันทำให้มีผลถึงเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัดเจน ทำให้ชาวต่างชาติไม่กล้าลงทุนในประเทศไทยเพราะเสี่ยงต่อผลกำไรจึงให้อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจต่ำจนทำให้ค่าเงินบาทของไทยต่ำลงไปอีก

ผู้ประกอบการจัดสวนก็เป็นอีกกลุ่มงานอาชีพหนึ่งที่พลอยได้รับผลกระทบจากปัญหาของเศรษฐกิจ ทำให้ค่าใช้ ค่าอุปกรณ์ และค่าวัสดุที่ใช้การจัดสวนมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

แนวทางการจัดสวนแบบเศรษฐกิจพอเพียง

การจัดสวนแบบเศรษฐกิจพอเพียงมีแนวทางการจัดในรูปแบบประหยัดคือ เรานำวัสดุที่เหลือใช้ในชีวิตปัจจุบันมาดัดแปลงให้มีความสวยงามแล้วมาจัดในรูปแบบสวน ซึ่งสามารถทำให้ลดต้นทุน ประหยัด และสร้างสรรค์ และยังดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราอีกทางหนึ่ง